gallerybottom

อาถรรพณ์ ป่าคำชะโนด(Paranormal Forest of the Chanot)

เรื่อง อาถรรพณ์ ป่าคำชะโนด
(Paranormal Forest of the Chanot)


ที่แห่งนี้คือป่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าลี้ลับ ป่าอาถรรพ์ … และคือป่าที่มีตำนาน ที่ชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวลาวให้ความนับถือ เพราะเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองนาคินทร์ และวังพญานาค ต้นตำนานแม่น้ำโขง เป็นป่าที่มีความน่าสนใจในแง่พฤกษศาสตร์ ที่โลกต้องทึ่ง!!! กับต้นคำชะโนดที่มีอายุนับหลายร้อยปี และมีอยู่ที่เดียว ณ ป่าคำชะโนด 
บนพื้นที่ราว 20 ไร่ ณ ต.วังทอง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี คือ ที่ตั้งของ ป่าคำชะโนด ที่ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นชะโนด (อยู่ในตระกูลเดียวกับปาล์ม คล้ายๆ ต้นตาล ต้นหมาก หรือไม่ก็ต้นมะพร้าว แต่สูงกว่า) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มองไปทางไหนก็เห็นแต่ทิวชะโนดสูงเด่นเป็นสง่า ปี 2520 เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านได้ทำการสำรวจจำนวนต้นชะโนดในป่าแห่งนี้ มีอยู่ราว 2,000 กว่าต้น จนมาถึงปี 2544 ชาวบ้านสำรวจอีกครั้งพบว่าต้นชะโนดลดลงเหลือเพียง 1,865 ต้น ถึงกระนั้นที่นี่ยังคงความเย็นชื้นและให้บรรยากาศวังเวงเหมือนเดิม แต่ที่น่าแปลกใจคือ หากพ้นจากดงชะโนดแห่งนี้ไป ห่างกันแค่ไม่ถึง 300 เมตร ก็ไม่มีต้นชะโนดปรากฏให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว นี่เองจึงทำให้ผืนดินราว 20 ไร่ ถูกตั้งฉายาให้เป็นป่าแห่งชะโนดขนานแท้  


"เคยมีคนคิดเอาต้นชะโนดไปปลูกที่อื่นนะ แต่ไม่นานก็ต้องเอากลับมาคืนที่เดิม เพราะชีวิตการงานไม่ก้าวหน้า ชีวิตครอบครัวมีแต่ความเดือดร้อน ขนาดว่าแค่เอาเมล็ด หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นใบแห้งๆ ออกจากป่า สุดท้ายต้องเอามาคืนกันหมด" ทองอินทร์ ปักเสติ ชาวบ้านโนนเมือง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ กับป่าคำชะโนด กล่าว

อย่างไรก็ตามผืนป่าแห่งนี้กลายเป็นสถานที่เลื่องชื่อชั่วข้ามคืน เพราะเรื่องเล่า "ผีจ้างหนังที่คำชะโนด" (คนอีสานเรียก ผีบังบด หรือเมืองลับแล ไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไป นอกเสียจากว่าจะมีอะไรดลใจให้เห็น) …. โดยเมื่อปี พ.ศ.2532 ธงชัย แสงชัย เจ้าของบริษัทหนังเร่ดังกล่าว ได้เล่าว่า ตนเองถูกว่าจ้างจากใครคนหนึ่งให้ไปฉายหนังกลางแปลงที่งานวัด ที่หมู่บ้านวังทอง แถวป่าคำชะโนด ด้วยจำนวนเงิน 4,000 บาท แต่มีข้อแม้คือ ต้องฉายจบแค่ตี 4 ของวันใหม่ และให้ออกจากหมู่บ้านก่อนฟ้าสาง โดยห้ามหันหลังกลับมามอง... 
หลังจากที่วางเงินมัดจำเสร็จ เจ้าของหนังก็จัดแจงเตรียมของอุปกรณ์สัมภาระ ฟิล์มหนังที่จะนำไปฉาย ไปกับลูกน้องอีก 4 รวมเป็น 5 คน โดยขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อมีหลังคา ออกจากตัวจังหวัดบ่ายแก่ ๆ ขับรถเข้าไปแถวป่าคำชะโนดก็เริ่มมืด ยิ่งขับไปทางเส้นทางตามที่ผู้ว่าจ้างบอกก็ไม่เห็นว่าจะเจอหมู่บ้านหรือคนที่จะมารับ จึงนึกว่าหลงกัน ระหว่างจอดรถว่าจะย้อนกลับไปดีหรือไม่ ก็มีผู้หญิง 2 คนใส่ชุดดำมาร้องเรียกว่าจะนำไปที่วัด คนขับที่เป็นเจ้าของหนังก็รับขึ้นรถ แต่แกก็สงสัยว่า 2 คนนี้โผล่มาจากไหนในที่มืดๆ อย่างนี้ พาหนะอะไรก็ไม่มี  



เมื่อขับเข้าไปในหมู่บ้านก็ยิ่งให้ชวนสงสัยใหญ่ว่า ทำไมไม่มีเสียงลำโพงออกมาจากงานวัด ไม่มีเสียง หมอลำ หรือการละเล่นอะไรเลย พอไปถึงหมู่บ้านก็มีคนมารับ แต่แปลกว่าทุกคนจะใส่เสื้อสีขาวกับดำ ถ้าเป็นผู้ชายใส่ชุดขาว ผู้หญิงใส่ชุดดำแยกให้เห็นชัดเจนแม้แต่เด็ก แต่ที่แปลกทุกคนจะทาหน้าขาวหมดเหมือนใช้ครีมพอกหน้า
 เมื่อถึงที่แล้วทุกคนก็เริ่มตั้งจอภาพยนตร์ เดินสายไฟ และเปิดเครื่องปั่นไฟ ระหว่างที่กำลังกุลีกุจอติดตั้งก็เริ่มเห็นผู้คนทยอยมานั่งดูหนัง แต่จะแยกชายหญิงชัดเจน ไม่นั่งรวมกัน และปกติของงานวัดจะต้องมีแม่ค้าแม่ขายมาขายน้ำ ขายถั่ว ขายปลาหมึกย่าง แต่ที่นี่กลับไม่มีแม่ค้าสักคน พอติดตั้งเสร็จก็เริ่มฉายหนัง หนังที่เอาไปฉายมี 4 เรื่อง เรื่องแรกเป็นหนังสงคราม เรื่องที่ 2 เป็นหนังตลกแอ็คชั่น เรื่องที่ 3 กับ 4 เป็นหนังผี ระหว่างฉายคนพากย์ก็พยายามพากย์ยิงมุกตลกๆ แต่ไม่มีใครหัวเราะหรือแสดงอารมณ์อย่างใดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไปฉายที่ไหน คนก็จะหัวเราะตลอด 
จนเริ่มฉายเรื่องที่ 3 ที่เป็นหนังผี สังเกตท่าทางคนที่มาดูเริ่มตั้งใจดู ทั้งที่บรรยากาศตอนนั้นก็เที่ยงคืนดูน่ากลัวมากๆ ระหว่างนั้นทางเจ้าภาพก็จัดข้าวต้มถ้วยเล็กมาให้ทีมงานฉายหนังกินกัน ทางทีมงานเห็นแล้วก็ละเหี่ยใจ มีแต่ข้าวต้มซีดๆ กะเนื้อชิ้นเล็กๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียน้ำใจ ทางทีมงานก็เลยกินกัน ปรากฎว่าเป็นข้าวต้มที่อร่อยที่สุดที่เคยกินกันมา หลังจากฉายหนังจบถึงตี 2 ผู้คนก็แยกย้ายกันกลับ แป๊บเดียวก็สลายไปหมด ไม่มีใครเหลืออยู่เลย ทางทีมงานก็เก็บอุปกรณ์ขึ้นรถ โดยมีผู้หญิงสองคนนั่งรถออกมาส่ง ก่อนจะร่ำลาก็จ่ายค่าจ้างที่เหลือซึ่งเป็นเงินเหรียญทั้งหมด พอออกมาส่งถึงปากซอยผู้หญิงสองคนนั้นลงจากรถ พอรถออกตัวคนขับที่เป็นเจ้าของหนังกลางแปลงหันกลับมาดูก็ไม่เห็นผู้หญิง 2 คนนั้นแล้ว
หลังจากกลับมาถึงบริษัท ธงชัย ก็เกิดความสงสัย จึงเช็คประวัติกับผู้ว่าจ้างที่ถ่ายเอกสารให้ตอนวางมัดจำ ก็พบตัวว่ามีชื่อนี้จริง แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เคยไปว่าจ้างใครไปฉายหนังตามวันและเวลาที่บอก เมื่อสงสัยจัดก็เลยสอบถามไปยังเจ้าอาวาสวัดที่เอาหนังไปฉาย ทางเจ้าอาวาสก็บอกว่าในวันนั้นที่วัดไม่ได้มีการจัดงานแต่อย่างใด แต่เจ้าอาวาสเล่าว่า ในคืนวันที่เจ้าของหนังมาบอกว่ามีการฉายหนัง ที่ป่าคำชะโนดจะมีเสียงซู่ๆ เหมือนกับมีพายุพัดเข้ามา ทั้งๆ ที่คืนนั้นไม่มีลมใหญ่พัดมาจากไหนเลย...?


ขณะที่ ทองอินทร์ ปักเสติ ชาวบ้านโนนเมือง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ กับป่าคำชะโนด ได้ย้อนถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในป่าคำชะโนดอีกหนึ่งเรื่องเล่าของป่าแห่งนี้ ซึ่งคนภายนอกฟังดูอาจคิดว่าเป็นเรื่องอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อหลอกให้คนกลัวกันเล่นๆ สำหรับชาวบ้านที่อยู่มานานนมกลับเชื่อสนิทใจ ไม่ใช่นิทานปรัมปรา หรือนิยายประโลมโลก แต่นั่นคือแรงศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อป่าอันลี้ลับและเต็มไปด้วยเรื่องเล่ามากมาย
เดิมทีคนท้องถิ่นจะเรียกที่นี่ว่า "วังนาคินทร์คำชะโนด" ที่มาก็คือมีบ่อน้ำอยู่กลางดงชะโนด เป็นบ่อน้ำขนาดเล็กๆ แต่กลับมีน้ำซึมออกมาตามธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้ชาวบ้านเชื่อกันว่าบ่อน้ำประทานมาให้โดยพญานาคที่อาศัยอยู่ในบริเวณผืนป่า สำหรับบ่อน้ำในป่าคำชะโนด ว่ากันว่าเป็นบ่อน้ำที่ความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ชาวบ้านเชื่อกันอย่างนั้น มีหลายคนเคยลองอธิษฐานตรงหน้าบ่อน้ำก็ได้ตามประสงค์ บางคนเจ็บป่วยไปดื่มหรืออาบโรคร้ายก็หายเป็นปลิดทิ้ง สร้างความอัศจรรย์ใจยิ่งนัก แต่นั่นไม่ใช่ทุกคน อยู่ที่ความเชื่อมีมากน้อยแค่ไหน หลายคนไม่เชื่อแถมยังลบหลู่ ตักน้ำจากบ่อแล้วนำมาล้างเท้าแทนที่จะหายป่วยไข้กลับทุกข์ทรมานซ้ำหนักกว่าเดิม
เช่นเดียวกับใครที่อยากจะเข้าไปสัมผัสป่าลี้ลับคำชะโนดก็ต้องสำรวมและปฏิบัติตามข้อห้ามอื่นๆ เป็นต้นว่า ห้ามใส่รองเท้าทั่วทั้งบริเวณป่า หมวก แว่นตา ร่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ห้ามเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้คือการดูถูกดูหมิ่นต่อผู้ปกปักรักษาผืนดิน
"แต่ก่อนห้ามใส่เสื้อสีแดงด้วย ไม่ได้เลยนะ ใครใส่เข้ามานี่เป็นเรื่อง อยู่ไม่ได้นานหรอก ต้องรีบออกไป ไม่รู้เพราะอะไร เหมือนท่านไม่ชอบ แต่พอหลวงปู่ (หลวงตาคำ สิริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทโธ วัดละแวกป่าคำชะโนด) ได้ทำพิธีขอยกเว้นตอนหลังก็ใส่ได้" ทองหล่อ ตลิ่งชัน กำนันตำบลวังทอง กล่าว

ความเชื่อเรื่องพญานาคของคนที่นี่นั้นอาจไม่แตกต่างจากชาวหนองคายที่เชื่อว่าพญานาคมีจริง บั้งไฟพญานาคเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเจ้าแห่งเมืองบาดาล ไม่ใช่ฝีมือของมนุษย์ธรรมดาเหมือนเมื่อครั้งถูกนำเสนอผ่านหนัง รวมถึงสื่อทีวีบางช่องเมื่อหลายปีก่อนโน้น ชาวบ้านละแวกป่าคำชะโนดก็คล้ายกัน พวกเขาสร้างทางเดินที่เชื่อมจากโลกภายนอกกับผืนป่าอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ด้วยรูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร นอนเลื้อยยาวไปจนสุดทางเดินราว 300 เมตร เพื่อสะท้อนถึงพลังอำนาจและบารมีของพญานาคราช 
กระทั่งในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านก็มีความเชื่อว่าเป็นวันที่พญานาคจะขึ้นมาหายใจ ดวงไฟสีแดงที่ผุดกลางบ่อน้ำแล้วลอยขึ้นท้องฟ้า (คล้ายๆ กับบั้งไฟพญานาคผุดกลางลำน้ำโขงที่ จ.หนองคาย) นั่นละคือ ลมหายใจพญานาค โดยชาวบ้านเชื่อว่าใครเห็นจะเป็นบุญของชีวิตเลยทีเดียว

ป่าคำชะโนด... ยังมีเรื่องเล่าอีกนับไม่ถ้วน ทั้งที่สร้างความรู้สึกชวนขนหัวลุก และตื่นเต้นเสียวสันหลัง เชื่อหรือไม่เชื่อนั้นแล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล หรือคุณจะลองไปพิสูจน์...?


ที่มา>>>http://hilight.kapook.com/view/17125

บทความและภาพ ในบล็อกนี้บางบทบางภาพอาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นที่ที่ทางเราคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumnan28@Gmail.com ทางเราจะได้นำบทความนั้นนั้นออก ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ผีจ้างหนัง

ผีจ้างหนังที่คำชะโนด

เรื่อง ผีจ้างหนัง


"ผีจ้างหนังที่คำชะโนด" (คนอีสานเรียก ผีบังบด หรือเมืองลับแล ไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไป นอกเสียจากว่าจะมีอะไรดลใจให้เห็น) …. โดยเมื่อปี พ.ศ.2532 ธงชัย แสงชัย เจ้าของบริษัทหนังเร่ดังกล่าว ได้เล่าว่า ตนเองถูกว่าจ้างจากใครคนหนึ่งให้ไปฉายหนังกลางแปลงที่งานวัด ที่หมู่บ้านวังทอง แถวป่าคำชะโนด ด้วยจำนวนเงิน 4,000 บาท แต่มีข้อแม้คือ ต้องฉายจบแค่ตี 4 ของวันใหม่ และให้ออกจากหมู่บ้านก่อนฟ้าสาง โดยห้ามหันหลังกลับมามอง... 


หลังจากที่วางเงินมัดจำเสร็จ เจ้าของหนังก็จัดแจงเตรียมของอุปกรณ์สัมภาระ ฟิล์มหนังที่จะนำไปฉาย ไปกับลูกน้องอีก 4 รวมเป็น 5 คน โดยขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อมีหลังคา ออกจากตัวจังหวัดบ่ายแก่ ๆ ขับรถเข้าไปแถวป่าคำชะโนดก็เริ่มมืด ยิ่งขับไปทางเส้นทางตามที่ผู้ว่าจ้างบอกก็ไม่เห็นว่าจะเจอหมู่บ้านหรือคนที่จะมารับ จึงนึกว่าหลงกัน ระหว่างจอดรถว่าจะย้อนกลับไปดีหรือไม่ ก็มีผู้หญิง 2 คนใส่ชุดดำมาร้องเรียกว่าจะนำไปที่วัด คนขับที่เป็นเจ้าของหนังก็รับขึ้นรถ แต่แกก็สงสัยว่า 2 คนนี้โผล่มาจากไหนในที่มืดๆ อย่างนี้ พาหนะอะไรก็ไม่มี 


เมื่อขับเข้าไปในหมู่บ้านก็ยิ่งให้ชวนสงสัยใหญ่ว่า ทำไมไม่มีเสียงลำโพงออกมาจากงานวัด ไม่มีเสียง หมอลำ หรือการละเล่นอะไรเลย พอไปถึงหมู่บ้านก็มีคนมารับ แต่แปลกว่าทุกคนจะใส่เสื้อสีขาวกับดำ ถ้าเป็นผู้ชายใส่ชุดขาว ผู้หญิงใส่ชุดดำแยกให้เห็นชัดเจนแม้แต่เด็ก แต่ที่แปลกทุกคนจะทาหน้าขาวหมดเหมือนใช้ครีมพอกหน้า
เมื่อถึงที่แล้วทุกคนก็เริ่มตั้งจอภาพยนตร์ เดินสายไฟ และเปิดเครื่องปั่นไฟ ระหว่างที่กำลังกุลีกุจอติดตั้งก็เริ่มเห็นผู้คนทยอยมานั่งดูหนัง แต่จะแยกชายหญิงชัดเจน ไม่นั่งรวมกัน และปกติของงานวัดจะต้องมีแม่ค้าแม่ขายมาขายน้ำ ขายถั่ว ขายปลาหมึกย่าง แต่ที่นี่กลับไม่มีแม่ค้าสักคน พอติดตั้งเสร็จก็เริ่มฉายหนัง หนังที่เอาไปฉายมี 4 เรื่อง เรื่องแรกเป็นหนังสงคราม เรื่องที่ 2 เป็นหนังตลกแอ็คชั่น เรื่องที่ 3 กับ 4 เป็นหนังผี ระหว่างฉายคนพากย์ก็พยายามพากย์ยิงมุกตลกๆ แต่ไม่มีใครหัวเราะหรือแสดงอารมณ์อย่างใดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไปฉายที่ไหน คนก็จะหัวเราะตลอด



จนเริ่มฉายเรื่องที่ 3 ที่เป็นหนังผี สังเกตท่าทางคนที่มาดูเริ่มตั้งใจดู ทั้งที่บรรยากาศตอนนั้นก็เที่ยงคืนดูน่ากลัวมากๆ ระหว่างนั้นทางเจ้าภาพก็จัดข้าวต้มถ้วยเล็กมาให้ทีมงานฉายหนังกินกัน ทางทีมงานเห็นแล้วก็ละเหี่ยใจ มีแต่ข้าวต้มซีดๆ กะเนื้อชิ้นเล็กๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียน้ำใจ ทางทีมงานก็เลยกินกัน ปรากฎว่าเป็นข้าวต้มที่อร่อยที่สุดที่เคยกินกันมา หลังจากฉายหนังจบถึงตี 2 ผู้คนก็แยกย้ายกันกลับ แป๊บเดียวก็สลายไปหมด ไม่มีใครเหลืออยู่เลย ทางทีมงานก็เก็บอุปกรณ์ขึ้นรถ โดยมีผู้หญิงสองคนนั่งรถออกมาส่ง ก่อนจะร่ำลาก็จ่ายค่าจ้างที่เหลือซึ่งเป็นเงินเหรียญทั้งหมด พอออกมาส่งถึงปากซอยผู้หญิงสองคนนั้นลงจากรถ พอรถออกตัวคนขับที่เป็นเจ้าของหนังกลางแปลงหันกลับมาดูก็ไม่เห็นผู้หญิง 2 คนนั้นแล้ว 


หลังจากกลับมาถึงบริษัท ธงชัย ก็เกิดความสงสัย จึงเช็คประวัติกับผู้ว่าจ้างที่ถ่ายเอกสารให้ตอนวางมัดจำ ก็พบตัวว่ามีชื่อนี้จริง แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เคยไปว่าจ้างใครไปฉายหนังตามวันและเวลาที่บอก เมื่อสงสัยจัดก็เลยสอบถามไปยังเจ้าอาวาสวัดที่เอาหนังไปฉาย ทางเจ้าอาวาสก็บอกว่าในวันนั้นที่วัดไม่ได้มีการจัดงานแต่อย่างใด แต่เจ้าอาวาสเล่าว่า ในคืนวันที่เจ้าของหนังมาบอกว่ามีการฉายหนัง ที่ป่าคำชะโนดจะมีเสียงซู่ๆ เหมือนกับมีพายุพัดเข้ามา ทั้งๆ ที่คืนนั้นไม่มีลมใหญ่พัดมาจากไหนเลย...

ที่มา>>> http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6623fe66247606d5




บทความและภาพ ในบล็อกนี้บางบทบางภาพอาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นที่ที่ทางเราคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumnan28@Gmail.com ทางเราจะได้นำบทความนั้นนั้นออก ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ตำนานนางเลือดขาว


ตำนานนางเลือดขาวที่พบในภาคใต้



ตำนานนางเลือดขาวนั้นแต่เดิมปรากฏอยู่ในรูปของตำนานมุขปาฐะที่เล่าสืบทอดต่อๆกันมา จนต่อมาได้มีผู้รู้ในท้องถิ่นได้คิดรวบรวมจารลงบนกระดาษเพลา แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากตำนานนางเลือดขาวได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในท้องถิ่นภาคใต้ตลอดแหลมมลายูในรูปคำบอกเล่าที่แตกต่างและเหมือนกันในบางท้องถิ่น ทั้งในจังหวัดพัทลุง ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ภูเก็ต ซึ่งผู้คนได้เล่าสืบทอดกันมายาวนานจนกลายเป็นตำนานประจำท้องถิ่น ซึ่งตำนานนางเลือดขาวที่แพร่หลายในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้นั้น มีปรากฏที่มาจากสองทางด้วยกัน คือ

1.ตำนานนางเลือดขาวตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง
ตำนานนางเลือดขามตามที่ได้ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง ซึ่งหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์)เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๑ นั้นสรุปความได้ว่า เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนปี พ.ศ.๑๔๘๐ เมืองตั้งอยู่ที่สทิงพระ เจ้าเมืองชื่อพระยากรงทอง ครั้งนั้นตาสามโมกับยายเพชร สองสามีภรรยา ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลปละท่า ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาคือ บริเวณบ้านพระเกิด อำเภอปากพะยูน เป็นหมอสดำ (หมอเฒ่าหรือนายกองช้าง) มีหน้าที่เลี้ยงช้างส่งพระยากรงทองทุกปี ต่อมาสองตายายได้พบกุมารจากป่าไม้ไผ่เสรียง มีพรรณเลือดเขียว ขาว เหลือง ดำ แดง และได้พบกุมารีจากไม้ไผ่มีพรรณเลือดขาว จึงได้ชื่อว่านางเลือดขาว ต่อมาทั้งสองคนได้แต่งงานกัน และรับมรดกเป็นนายกองช้าง ต่อมาจนมีกำลังขึ้นและมีผู้คนนับถือมาก ได้เรียกตำบลบ้านนั้นว่า พระเกิด ต่อมาทั้งสองคนได้พาสมัครพวกพวก เดินทางไปทางทิศอีสาน บ้านพระเกิดไปถึงบางแก้ว เห็นเป็นชัยภูมิดีก็ตั้งพักอยู่แต่นั้นมาก็เรียกกุมารนั้นว่า พระยา มีอำนาจทรัพย์สมบัติและบริวารมากขึ้น ทั้งสองคนเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูป และอุโบสถขึ้นไว้ที่วัดสทิง อำเภอเขาชัยสน สร้างถาวรวัตถุไว้ที่วัดเขียนบางแก้ว คือวิหารและพระพุทธรูป พร้อมทั้งทำจารึกไว้ในแผ่นทองคำด้วย
ตั้งแต่ พ.ศ.๑๕๐๐ พระยากุมารกับนางเลือดขาว ก็พำนักอยู่ที่บางแก้ว ซึ่งต่อมาเรียกที่นั้นว่า ที่วัด มีเขตถึงบ้านดอนจิงจาย ต่อมาทั้งสองคนได้ไปเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระพุทธรูปไว้หลายตำบล นับแต่นั้นมาเกียรติคุณนางเลือดขาวก็รำลือไปถึงกรุงสุโขทัย พระเจ้ากรุงสุโขทัย โปรดให้พระยาพิษณุโลกกับนางทองจันทร์ พร้อมนางสนมออกมารับนางเลือดขาวที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเชิญไปเป็นมเหสี ส่วนพระยากุมารก็กลับไปอยู่ที่บ้านพระเกิดตามเดิม
พระเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อทรงทราบว่านางมีสามี และมีครรภ์ติดมา จึงไม่ยกขึ้นเป็นมเหสี ครั้นนางคลอดบุตรเป็นกุมาร ก็ทรงขอบุตรไว้ชุบเลี้ยง ต่อมานางเลือดขาวทูลลากลับบ้านเดิม จึงโปรดให้จัดส่งถึงบ้านพระเกิด อยู่กินกับพระยากุมารตามเดิมจนถึงแก่กรรมทั้งสองคน ภายหลังบุตรนางเลือดขาวได้กลับมาเป็นคหบดี อยู่ที่บ้านพระเกิด เมืองพัทลุง ชาวเมืองเรียกว่า เจ้าฟ้าคอลาย
2.ตำนานนางเลือดขาวที่เป็นคำบอกเล่าของชาวบ้าน
สำหรับตำนานนางเลือดขาวที่เป็นคำบอกเล่าของชาวบ้าน ในตอนต้นกล่าวถึงสงครามในอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้ชาวอินเดียอพยพหนีภัย มาขึ้นฝั่งทางด้านตะวันตกของแหลมมลายู บริเวณเมืองท่าปะเหลียน จังหวัดตรัง แล้วข้ามแหลมมายังอำเภอตะโหนด และอำเภอปากพะยูน ขณะนั้นตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมีย ชาวบ้านพระเกิด เป็นนายกองช้าง ไม่มีบุตร จึงเดินทางไปขอบุตรีชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่ตง บ้านตะโหมด นำมาเลี้ยงไว้ชื่อว่านางเลือดขาว เพราะเป็นคนผิวขาวกว่าชาวพื้นเมือง ต่อมาได้เดินทางไปขอบุตรชายชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่เสรี่ยง ให้ชื่อว่ากุมารหรือเจ้าหน่อ เมื่อทั้งสองเจริญวัย ตายายจึงให้แต่งงานกัน แล้วอพยพไปตั้งบ้านที่บางแก้ว เมื่อตายายถึงแก่กรรม ทั้งสองก็ได้นำอัฐิไปไว้ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ หลังจากนั้นทั้งสองได้สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ในวัดเขียนบางแก้วและวัดสทิง เมื่อเดินทางถึงที่ใดก็สร้างวัดที่นั่น เช่น เดินทางไปลังกากับคณะทูตเมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่วัดเขียนบางแก้ว สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ วัดพระงาม วัดถ้ำพระพุทธที่เมืองตรัง สร้างวัดแม่อยู่หัวที่อำเภอเชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช สร้างวัดเจ้าแม่ (ชะแม) วัดเจดีย์งาม วัดท่าคุระ ปัจจุบันคือ วัดเจ้าแม่ อยู่ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
เมื่อข่าวความงามของนางเลือดขาวทราบไปถึงกษัตริย์กรุงสุโขทัยจึงโปรดให้พระยาพิษณุโลกมารับนางเลือดขาว เพื่อชุบเลี้ยงเป็นมเหสี แต่นางมีครรภ์แล้ว จึงไม่ได้ยกเป็นมเหสี เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว ทรงขอบุตรไว้ แล้วให้พระยาพิษณุโลก นำนางเลือดขาวกลับไปส่งถึงเมืองพัทลุง ตั้งแต่นั้นมาคนทั่วไปก็เรียกนางว่า เจ้าแม่อยู่หัวเลือดขาว หรือนางพระยาเลือดขาว หรือพระนางเลือดขาว นางได้อยู่กินกับพระกุมารจนอายุได้ ๗๐ ปี ทั้งสองก็ถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าคอลายผู้เป็นบุตร ได้นำศพไปประกอบพิธี ฌาปนกิจที่บ้านพระเกิด เส้นทางที่นำศพไปจากบ้านบางแก้วถึงบ้านพระเกิด เรียกว่า ถนนนางเลือดขาว




ที่มา>>>http://www.gotoknow.org/posts/390083

บทความและภาพ ในบล็อกนี้บางบทบางภาพอาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นที่ที่ทางเราคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumnan28@Gmail.com ทางเราจะได้นำบทความนั้นนั้นออก ขอบคุณครับ


0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

14 ตุลาคม 2516


14 ตุลาคม วันประชาธิปไตย 

ประวัติสำคัญของไทย

ลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2516


ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยสมาชิกประมาณ 10 คน เปิดแถลงข่าวที่บริเวณสนามหญ้าท้องสนามหลวง ด้านอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
  1. เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว
  2. จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน
  3. กระตุ้นประชาชนให้สำนึก และหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ
ธีรยุทธ บุญมี นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก
ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มาเปิดเผย เช่น พล.ต.ต สง่ากิตตขจร, นายเลียง ไชยกาล, นายพิชัย รัตตกุล, นายไขแสง สุกใส, นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร, รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น ดร.เขียน ธีรวิทย์, ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน, ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ, ดร.ชัยอนันต์ สมุทรทวณิช, อาจารย์ทวี หมื่นนิกร เป็นต้น รวมทั้งจดหมายเรียกร้องจากนักเรียนไทยในนิวยอร์ค
ทันทีที่ข่าวนี้ออกมา พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ บุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางคน กำลังดำเนินการให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฏหมายอีกก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516



สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน เดินแจกใบปลิวและหนังสือ ซึ่งอัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้บนปก
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎร โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”ผู้เรียกร้องถือป้ายโปสเตอร์ 10 กว่าแผ่น มีใจความเช่น น้ำตาตกใน เมื่อเราใช้ รัฐธรรมนูญ , จงปลดปล่อย ประชาชน , ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นต้น กลุ่มเรียก ร้องออกเดินจาก บริเวณตลาดนัดสนามหลวง ไปบางลำภู ผ่านสยามแสควร์ และเมื่อถึงประตูน้ำ เวลาประมาณ 14.00 น. ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล และ สันติบาล จับกุมไปทั้งหมด 11 คน ซึ่งมีทั้งอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง ผิดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 ที่ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คนผู้ต้องหาถูกนำไป ไว้ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลกอง 2 จนกระทั่งเวลาเที่ยงคืน จึงย้ายไป คุมขังที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน ทางตำรวจปฏิเสธ ไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกัน
วันที่?7 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ตลอดช่วงบ่าย และค่ำของวันที่ 6 ถึงเช้าวันที่ 7 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการ ตรวจค้นสำนักงานตลอดจนบ้านพักของผู้ต้องหาและเกี่ยวข้อง และได้จับ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงเพิ่มขึ้นอีก 1 คน รวมเป็น 12 คน ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ พยายามวิ่งเต้นที่จะเข้าเยี่ยม และประกันเพื่อนของตน
คำประกาศเชิญชวนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทย เป็นของชาวไทยทุกคน อันหมายความว่า บรรดาทรัพยากรทั้งมวล การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากร อำนาจอธิปไตยในการปกครอง การบริหาร การป้องกันประเทศ การจัดระบบสังคม เพื่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความสงบ เสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรม เป็นของประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน
หลักการเช่นนี้ว่า ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน เพื่อรวมกันกำหนดความเป็นไปของชาติ การสร้างสรรค์ความสมบูรณ์สันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมนุมชนชาวไทย
แต่ปรากฏว่าหลักการดังกล่าวต้องล้มเลิกไปเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 มีผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา เลิกพรรคการเมือง ทำให้การปกครองประเทศขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ผู้ปกครองไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน สิทธิ เสรีภาพของประชาชนถูกจำกัด การบริหารบ้านเมืองขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ สภาพเศรษฐกิจการเมืองและสังคมขมวดปมแห่งความยุ่งยากขึ้น ความยุติธรรมในสังคมลดน้อยลงทุกที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อความอยู่รอดของชาติในระยะยาวต่อไป
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องระดมสรรพกำลังความคิด ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำหนด ชะตากรรมของประเทศชาติและของตัวเอง ส่งเสริมให้ประชาชนมีสำนึกร่วมในการต่อสู้ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศชาติ นั่นคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิ เสรีภาพในการกำหนดควบคุมเป้าหมาย และนโยบาย ในการบริหารประเทศ ให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมกำอนาคต ดังนั้นจะต้องมีกติกาทางการเมือง หรือรัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน กำหนดการเข้ารับภาระหน้าที่เกี่ยว กับอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่ต้อง กระทำการโดยยึดผลประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
บัดนี้ เราผู้มีรายชื่อปรากฏข้างท้ายนี้ ต่างมีความเห็นร่วมกัน และเชื่อมั่นว่า ประชาชนชาวไทย เป็นผู้มีเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี ตลอดจนมีความตื่นตัวเพียง พอพร้อมที่จะปกครองตนเองได้ จึงเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยว กับการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการเร่งรัดให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเร็วที่สุด (จากเอกสารที่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญแจกจ่ายในวันที่ 6 ตุลาคม 2514) 13.00 น. ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า จากการกระทำของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นการดำเนินดการโดยเปิดเผยและสันติวิธี เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลได้สั่งจับบุคคลกลุ่มนี้แล้วสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อยัดเยียดข้อหา ร้ายแรงแก่ประชาชนกลุ่มนี้ เป็นการส่อเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาล ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิ และเสรีภาพอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อตนจะได้ครองอำนาจไปตลอดกาล และไม่มีรัฐบาลที่ไหนในโลกที่จะปราบปรามประชนชน ที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นอกจากรัฐบาล ของพวกเผด็จการฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์เท่านั้น ในขณะเดียวกันองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. ก็มีการเคลื่อนไหวเรียกประชุมด่วน มีมติให้ศึกษาสถานการณ์ ติดโปสเตอร์ชี้แจงข้อเท็จจริง
วันที่?8 ตุลาคม พ.ศ. 2516


ตอนเช้า วันแรกของการสอบประจำภาคมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลปิดทั่วบริเวณ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเรียกร้องให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน พร้อมๆ กันนี้นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก็เข้าชื่อถึงนายกรัฐมนตรี ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม
วันเดียวกันนี้ พล.ต.ต.ชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีตนักการเมืองในข้อหาว่า อยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ส่วนจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ให้สัมภาษณ์ด้วยข้อความที่เสมือนระเบิดลูกใหญ่ว่า กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญมีแผนจะล้มรัฐบาล และกล่าวว่ามีการค้นพบเอกสารคอมมิวนิสต์ทั้งภาษาไทย จีน และอังกฤษ เป็นจำนวนมาก
อนึ่งจากบันทึกรายงานการประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นประธานนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีความเห็นว่าทางราชการอาจกระทำการปราบปรามผู้เรียกร้อง ทั้งยัง เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนเป็นแสนคน โดยอ้างว่า จำต้องเสียสละ เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง ซึ่งก็หมายความว่า ทางราชการเตรียมพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการปราบปราม
บ่ายวันนั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดอภิปรายที่หน้าหอประชุมใหญ่ และขึ้นรถไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน ต่อมาคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่ง ตัวแทนประมาณ 60 คน ไปเยี่นมอาจารย์ทวี หมื่นนิกร 1 ใน 12 ผู้ต้องหา แต่ถูกปฏิเสธการเข้าเยี่ยม อาจารย์ทั้งหมดจึงลงชื่อ พร้อมเขียนข้อความไว้ว่า ” We Shall Overcome “
ค่ำวันนั้น อมธ. ประชุมลับ และมีมติให้เลื่อนการสอบไล่โดยไม่มีกำหนด นักศึกษากิจกรรมแยกย้ายกันเอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ ตัดสายไฟฟ้าเพื่อให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้

วันที่?9 ตุลาคม พ.ศ. 2516


เช้าตรู่ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรากฏธงดำครึ่งเสาเหนือยอดโดม ประตูทาง เข้ามีประกาศ งดสอบ ด้านท่าพระจันทร์มีผ้าผืนใหญ่ข้อความว่า เอาประชาชนคืนมา ส่วนอีกผืนว่า เราเรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกบฎหรือ นักศึกษาที่เข้า ห้องสอบไม่ได้ต่าง ทยอยไปชุมนุม และฟังการอภิปราย โจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน ณ บริเวณลานโพธิ์ ซึ่งนำโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรร ประเสริฐกุล แลละเสาวนีย์ ลิมมานนท์ มีนักศึกษา แพทย์ศิริราชค่อย ๆ ข้ามฝากมาสมทบ ส่วนที่วิทยาลัย วิชาการศึกษา ประสานมิตรชุมนุมเป็นวันที่สอง ออกแถลงการณ์ให้ปล่อยผู้ต้องหาภายในวันที่ 15 ตุลาคม และให้ประกาศรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาเริ่มชุมนุมอภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม และให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบ
บ่ายวันนั้นฝนตกโปรยปราย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชุมฉุกเฉินมีมติ ให้ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ให้อธิการบดีเลื่อน การสอบออกไป ให้ต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสา ประท้วงตลอดวันตลอดคืน หากไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีรุนแรง
บ่ายวันเดียวกันนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 205 คน ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรีขอให้ พิจารณาปล่อยบุคคลเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ สถานการณ์ ลุกลามและรุนแรงยิ่งขึ้น
รัฐบาลตอบโต้ด้วยการที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้มาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปกครองกับผู้ต้องหา ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กับนายกรัฐมนตรีโดย ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางกฏหมาย แต่อย่างใด พร้อมกันนั้นทบวง มหาวิทยาลัยของรัฐ ก็ประกาศให้นิสิตนักศึกษาปฏิบัติตามกำหนดการสอบอย่างเคร่งครัด
คืนนั้นฝนตกหนาเม็ด ผู้ร่วมชุมนุมหาร่วมถอยหนีไม่ บ้างกางร่ม บ้างเอา หนังสือ พิมพ์คลุมหัว ฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับการแสดงละครเสียดสีการเมือง เกือบเที่ยงคืนฝนตกหนัก อากาศหนาวผู้ร่วมชุมนุม จึงย้ายจาก ลานโพธ์เข้าไป ในหอประชุมใหญ่

วันที่?10 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สายวันนั้น ฝนหยุดตก นักศึกษาทยอยกลับมาชุมนุมที่ลานโพธิ์ พร้อมกับนำคำแถลง การณ์มาอ่านเผยแพร่ เช่นคณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงคัดค้านการกระทำของรัฐบาล อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอให้รัฐบาลรอบคอบ สภาอาจารย์ธรรมศาสตร์เห็น ว่าการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจ เพื่อประโยชน์แก่สังคมเป็นส่วนรวม เป็นสิทธิขั้นมูลฐาน ของประชาชนทุกคนในอารยะประเทศ สโมสรเนติบัณฑิต แถลงว่าการกล่าวหาบุคคลทั้ง 13 คน เป็นการจงใจใส่ความอันเป็นเท็จ สโมสร นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลแถลงว่าบุคคลใดที่กระทำการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจแห่งปวงชนแล้ว ถือว่ากลุ่มบุคคลนั้นกระทำเพื่อชาติ เพื่อประชาชน ส่วนทางองค์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า จะดำเนินการ ประท้วงจนกว่า จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ก็ก้าวเข้ามา รับช่วงงานชุมนุมอย่างเป็นทางการจาก อมธ. พร้อมทั้งออก แถลงการณ์วิงวอน ให้ประชาชนร่วมต่อสู้ มิฉะนั้นแล้ว ประเทศไทยก็ยังคง อยู่ในอำนาจมืดของอำนาจอธรรม ไม่มีทางที่จะเห็นแสงสว่างแห่งคุณธรรมไปได้เลย วันพุธที่ 10 ตุลาคม ลานโพธิ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการชุมนุม นับแต่เที่ยงวัน นักศึกษาวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และวิทยาลัยครูธนบุรี (ปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฎ) ประมาณ 1 พันคนก็มาถึง ติดตามด้วยนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในช่วงบ่าย พร้อมทั้งมีข่าวว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา 8 แห่งทั่วประเทศ จะหยุดเรียนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่สำคัญก็คือ นักเรียนมัธยม และนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างก็ส่งตัวแทนขึ้นมาประกาศงดสอบ งดเรียน ผู้แทนนักเรียน อาชีวะประกาศร่วมต่อสู้ นักเรียนช่างกลคนหนึ่งตะโกนว่า ถ้าต้องการเครื่องทุ่นแรง ก็ขอให้บอกมา วันนั้นการชุมนุมแน่นขนัดเป็นหมื่นเต็มลานโพธิ์ และระเบียงคณะ ศิลปศาสตร์ จนต้องมีมติให้ย้ายการชุมนุมไปยังสนามฟุตบอล
ในวันเดียวกันนี้รัฐบาลได้เพิ่มความตึงเครียดของสถานการณ์ขึ้น โดยที่จอมพลถนอม กิตติขจรให้สัมภาษณ์ว่า พบหลักฐานฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหา คอมมิวนิสต์อีกกระทงหนึ่ง
วันที่?11 ตุลาคม พ.ศ. 2516




เช้าตรู่ วันที่ 11 ตุลาคม นิสิตนักศึกษานิมนต์ พระประมาณ 200 รูป ทำบุญ ตักบาตรท ที่สนามฟุตบอล อภิปรายโจมตีรัฐบาลต่อ ตั้งแต่ช่วงเช้า นักเรียนนิสิตนักศึกษา จากสถาบันต่าง ๆ ทยอยเข้าเป็นทิวแถวอย่างมีระเบียบ นิสิตเกษตรฯ งดสอบ เช่ารถ 70 คัน ประมาณ 4 พันคนมุ่ งสู่ธรรมศาสตร์ นักศึกษา วิทยาลัย ครูจันทรเกษ มตามมาสมทบอีก 33 คัน นักเรียนช่างกล นักศึกษารามคำแหง นักศึกษาวิทยาลัยครูต่าง ๆ มาถึงในเวลาต่อมา จนทำให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 5 หมื่นคน โฆษกบนเวทีด้านตึก อมธ. ด้านแท้งค์น้ำกล่าวว่า พรุ่งนี้นัดเรียนอนุบาล จะมาร่วมชุมนุมด้วย ตอนสายวันนั้น จอมพลประภาส จารุเสถียร เริ่มเจรจาด้วยการให้นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและคณะเข้าพบ
ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายนิสิตนักศึกษายืนยันให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน แต่รัฐบาลยืนกรานจะดำเนินการตามมาตรา 17 ในคืนนั้นก็มีการประชุมรัฐมนตรีโดยด่วน ตั้งศูนย์ปราบปรามจลาจลขึ้นที่สวนรื่นฤดี มีจอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นผู้อำนวยการ คืนวันนั้นเช่นกัน การชุมนุมดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน และแน่นขนัด นักเรียนนิสิตนักศึกษาได้รับการสนับสนุนจากหลายทิศหลายทาง มีทั้งเงินบริจาคหลายแสนบาท มีทั้งอาหารและผลไม้หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย นักเรียนไทยจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย ส่งจดหมายสนับสนุนการต่อสู้ พร้อมส่งเงินมาบริจาคสมทบ

วันที่?12 ตุลาคม พ.ศ. 2516

หลังการชุมนุมติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนเต็ม ถนนทุกสายของ ผู้ฝักใฝ่หาเสีรีภาพ และประชาธิไตย ก็มุ่งสู่ธรรมศาสตร์ การจราจรบนถนนในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะสายที่จะไปธรรมสาสตร์ติดขัดขนาดหนัก คลาคล่ำไปด้วยขบวน นักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ถือป้าย และโปสเตอร์เดินมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ขบวนแล้วขบวนเล่า มีทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่ระดับประถมไปจนสูงกว่าปริญญาตรี ภาครัฐบาลและภาคเอกชน ยิ่งสายคนยิ่งแน่น ในสนามฟุตบอลม ีคนร่วมชุมนุม เป็นจำนวนแสน 12.00 น. ของวันนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกคำแถลงการณ์ ยื่นคำขาดว่า ให้รัฐบาลปลดปล่อยบุคคลเหล่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป หากในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ทางศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมิได้รับคำตอบอันเป็นที่พอใจ ศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณาใช้มาตรการในขั้นเด็ดขาดต่อไปตอนบ่าย พลตรีประกอบ จารุมณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าวปรามมิให้ใช้คำว่า หวั่นจะนองเลือด ไม่ให้ใช้คำว่าคนมาชุมนุมเป็น แสน บ้าง ทั้งนี้สืบเนื่อง จากการที่หนังสือ พิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เช่น ประชาธิปไตย ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ ตลอดจน The Nation และ Bangkok Post ได้ติดตามรายงานข่าว อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ เป็นที่รับรู้ในคนหมู่มาก อย่างไม่เคยปรากฏมา ก่อนทั่วประเทศ ทำให้นักเรียนนิสิต นักศึกษาของสถาบันการ ศึกษาในต่างจังหวัด มีการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วง สอดคล้องกันไปกับปรากฏการณ ์ในกรุงเทพฯ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการชุมนุมที่เข้มแข็ง และจำนวนมากมายมหาศาลหลายแสนนี้ ทำให้รัฐบาลจำต้องยอม ให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา มีผู้เสนอประกันตัวให้ แต่ผู้ต้องหาทั้ง 13 ไม่ยอม รับการประกัน เนื่องจากไม่รู้จักผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ แถลงว่า การที่รัฐบาลยอมให้ประกันตัว และดูเหมือน จะอุปโหลกตัว ผู้ค้ำประกันนั้นเป็น การบ่ายเบี่ยงเจตนารมณ์ ศูนย์ฯยืนยันที่จะให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขคืนนั้น การชุมนุมประท้วงดำเนินต่อไป คลื่นมนุษย์เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่กว่า 2 แสนคน คืนนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งนำตัวแทนนักศึกษา 2 คน เข้าไปรายงาน ณ พระตำหนักจิตรลดาเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ สถานการณ์ และการกระทำของนิสิตนักศึกษาต่อไป คืนวันนั้นเช่นกันวิทยุกรม ประชาสัมพันธ์ได้ ประกาศเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง มิให้ปล่อยลูกหลาน มาร่วมชุมนุมโดยอ้างว่ามีนักเรียน หรือบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะใช้อาวุธ อย่างไรก็ตามฝ่ายข่าวของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาได้รับข่าวว่ามีการเสริมกำลังทหาร อย่างแน่นหนาบริเวณสวนรื่นฤดี บางแห่งมีการนำรถหุ้มเกราะ รถดับเพลิงทหาร รถถังออกมาตั้ง ทางตำรวจโรงพักชนะสงคราม มีตำรวจหนาแน่น มีการจ่ายอาวุธ และกระสุนเต็มอัตรา และได้ร่วมกับตำรวจสายตรวจนครบาล โดยจะใช้ ทหารราบ รักษาพระองค์ ทหารพลร่มจากศูนย์สงครามพิเศษ และรถถังจากกองพันทหารม้าที่ 4 มีกำลังหนุนจากกองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์และทหารจากกองพล ปตอ. ส่วนทางด้าน ตำรวจนั้นจะ ใช้กำลังจากศูนย์ปราบปรามพิเศษนครบาล บางเขน
วันที่?13 ตุลาคม พ.ศ. 2516


วันนี้เป็นวันแห่งคำขาดของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวันที่ทุกคนรอคอยด้วยใจระทึก การประท้วง ชุมนุม อภิปราย สลับการร้องเพลง การแสดงละคร การอ่านบทกวีดำเนินไปตลอดคืน จนกระทั่งฟ้าสาง เมื่อเวลาประมาณตี 5 นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ พร้อมด้วยกรรมการศูนย์ฯ ได้นำการร้องเพลง ชาติและกล่าวสาบานต่อที่ชุมชน ที่จะเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ เช้าวันนั้น นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนแน่น ขนัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งล้นทะลึกออกไปบริเวณรอบนอก ทุกคนต่างรอคอยเวลา 12.00 น. และแล้ว เสกสรร ประเสริฐกุลผู้นำนักศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งเฉพาะกิจ เป็นหัวหน้า ปฏบัติการเดินขบวน ก็ประกาศว่า พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย เราได้ให้โอกาส รัฐบาลมานานแล้ว 5 วัน 5 คืน ที่เราได้นั่งอดตาหลับขับตานอน ตากแดดตากน้ำค้าง เพื่อเรียกร้องสิทธิของเรา ได้รับการเพิกเฉย ความไม่แยแสจากรัฐบาล 24 ชึ่วโมงที่เรายื่นคำขาดใกล้จะมาถึงแล้ว ท่านพร้อมแล้วใช่ไหม ที่จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับสองตระกูลกินเมืองเหล่านั้น ในที่สุดเที่ยงตรงของวัน (เสาร์) ที่ 13 ตุลาคม ทุกคนยืนขึ้นพร้อม จะออกไปเผชิญ กับทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น กรรมการศูนย์ฯ นำมวลชนสวดมนต์ ร้องเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามด้วยเสียงไชโยโห่ร้องอย่างสนั่นหวั่นไหวรูปขบวนซึ่งได้รับการเตรียมไว้อย่างดี ก็เริ่มทะลักออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยคอมมานโดทะลวงฝ่าฝูงชนเป็นรูปหัวหอก ตามด้วยทัพธง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงล้วน
12.30 น. รถบัญชาการ เริ่มตีวงกลับ กองอาสาสมัครหญิงถือธงไตรรงค์จัดแถว และเริ่มเดินออก ติดตามด้วยแถวอาสาสมัครหญิงถือธงธรรมจักร และอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หน่วยหมีและหน่วยกล้าตายรวมพล มีกระสอบข้าวและ พริกไทยไว้สู้กับสุนัขตำรวจ มีตะขอและ เชือกพลาสติกไว้จัดการกับเครื่องกีดขวาง ท้ายขบวนมีรถบรรทุกน้ำและถุงพลาสติก กระดาษเช็ดหน้าไว้ป้องกันแก็สน้ำตา ตอนนี้รถบัญชาการกลับตัวออกมา หน่วยกนก50 ออกมาอารักขา มวลชนทะลักตัวออกมาจากสนามฟุตบอล ผู้คนระบายออกจากสนามฟุตบอลทีละข้าง ระหว่าแถบช้ายของทางลอดใต้ตึกโโดมกับแถบขวาสลับกัน ประมาณบ่าย 2 โมงกว่า ฝูงชนออกไม่ถึงครึ่งสนาม คลื่นมนุษย์ไหลมาอย่างกับน้ำป่าไหลท่วมธรรมศาสตร์ ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากสนามฟุตบอลมาอออยู่เต็มปากทางลอดตึกโดม แล้วก็ไหลลอดตึกโดยเลี้ยวขวาไปตามถนนเป็นแนวยาวเหยียดระลอกแล้วระลอกเล่าจาก 12.00 น. จนถึง 15.30 น. ลอดใต้ตึกห้องสมุดทางด้านประตูท่าพระอาทิตย์ เลียบเชิงสะพานปิ่นเกล้ าแล้วเข้าถนนราชดำเนิน ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา มุ่งสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประมาณกันว่าวันนั้นมีนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมเดินขบวนถึงกว่า 5 แสนคน และมีการถ่ายทอด ออกอากาศทางช่อง 4 และช่อง 7 การจัดรูปขบวนของนักเรียนนิสิตนักศึกษาในวันนั้น จัดเป็นแถว รูปหน้ากระดาน 5 ขบวนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่นำมาใช้ใน การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และมีขบวนรถบรรทุกขนาดเล็กจำนวน 13 คัน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รถบัญชาการ ตามด้วยรถพยบาล รถสวัสดิการ รถเสบียง รถพัสดุแสงเสียงและไฟฟ้า และรถระวังหลัง
การเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่นี้ มีการเตรียมการป้องกันรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพราะกระแสข่าวว่า อาจจะมีการปราบปรามจากทหารและ ตำรวจเล็ดลอด ออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้นนักเรียนอาชีวะที่ประกอบกันเข้าเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย จึงกระจายออกเป็นถึง 10 เท่าด้วยกัน คือ หน่วยคอมมานโด หน่วยหมี หน่วยเฟืองป่า หน่วยฟันเฟือง หน่วยเซฟ หน่วยกนก50 หน่วยวิษณุ หน่วยช้าง หน่วยเสือเหลือง และหน่วยจ๊อด


วันนั้น ตลอดวันของเสาร์ที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่การเดินขบวนคลาคล่ำถนนราชดำเนิน ตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้เข้าพบ เจรจาขั้นสุดท้ายกับจอมพลประภาส จารุเสถียร เมื่อได้รับคำตอบว่าจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1 ปี จากนั้นตัวแทนของทางศูนย์ฯ ก็ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเวลา 16.20 – 17.20 น. 17.30 น. เสกสรร ประเสริฐกุล หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวน สั่งเคลื่อนขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อม ๆ กับการที่กรรมการศูนย์ฯ กลับเข้าพบจอมพลประภาส จารุเสถียร อีกครั้งระหว่าง 17.40 – 18.30 น. เพื่อทำหนังสือสัญญาตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร 20.00 น. วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประกาศว่ารัฐบาลยอม รับข้อเสนอ ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ยอมปล่อยผู้ต้องหา และจะประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีถัดไป ตัวแทนของนิสิตนักศึกษา และผู้แทนพระองค์พยายาม ดำเนินการให้มีการสลายตัว ของฝูงชนที่ยังคง ชุมนุมอยู่ เป็นเรือนแสน บรรยากาศทั่วไปเต็มไปด้วย ปัญหาการติดต่อ ประสานงาน ความตึงเครียด และข่าวลือต่าง ๆ นานาในทางร้ายต่อผู้นำนิสิตนักศึกษา กรมประชาสัมพัน ธ์ออกแถลงการณ์ว่า ได้มีนักเรียนหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง เตรียมการที่จะ ใช้อาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 และเมื่อ
22.00 น. ก็มีแถลงการณ์อีกว่า บัดนี้ ปรากฏว่าได้มีบุคคลบางคน ที่มีใช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปราย โจมตีรัฐบาล และยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป
23.30 น. นายพีรพล ตริยะเกษม นายก อมธ. กระซิบกับเสกสรรค์ว่า บัดนี้กรรมการศูนย์ฯ ที่ไปเข้าเฝ้าชะตาขาดหมดแล้ว ทำให้เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคลื่อนขบวนจากลาน พระบรมรูปทรงม้าไปยังสวนจิตรลดา เพื่อหวัง เอาพระบารมีเป็นที่พึ่งเมื่อเวลาใกล้จะเที่ยงคืน
วันที่?14 ตุลาคม พ.ศ. 2516


นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรีบน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืนก็มารวมกันอยู่ที่บริเวณ หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด เพื่อหวังพระบารมีเป็นที่พึ่ง เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤต และสูยเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่าที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์ ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟัง จบแล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทิ้งอาวุธ พร้อมกับทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด ตำรวจเหล่านี้มีไม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา ภายใต้การบัญชาการของ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น และพล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ฝูงชนเมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผ่านออกไป ก็เริ่มมีปกิกริย าด้วยการใช้ ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ ฝูงชนที่ถูกสกัดกั้นรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้ ขว้างใส่ถูกตำรวจ ได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง
หลังจากนั้นให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชน โดยมีตำรวจคอมมานโด สวมหมวกกันน็อค ทั้งนครบาล และกองปราบ พร้อมด้วยสอง นายตำรวจผู้อื้อฉาว จากคดีทุ่งใหญ่ ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูงชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริ่ม จากจุดนี้ สร้างความเครียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น เมื่อเห็นเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ ฝูงชนที่หนีได้ก็ปีน ป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสึตว์ และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้า วังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไป การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 – 6.45 น.

จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาฯ เหตุการณ์ก็บานปลายลุกลาม ไปอย่างไม่มีใครคาดคิดไว้ รัฐบาลใช้กำลังทหาร และตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุม ประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ อำนาจเผด็จการคณาธิปไตย พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนตลอดจนสถานีตำรวจ



นับตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้าไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อวินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้น ให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 – 05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศิลปากรเป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่ 
14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก กตป. ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลสิริราชตลอดเวลา
18.00 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ความตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทนb สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์แสดงความห่วงใย


23.30 น. ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม ่ปราศัยทาง โทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศ จะใช้รัฐะรรมนูญภายใน 6 เดือนอย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ พยายามนำลัทธิการปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขอให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ ซึ่งก็คือการปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไป ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น เสกสรร ประเสริฐกุล และเสาวณีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจึดตั้ง ศูนย์ปวงชนชาวไทย ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงาน และคลี่คลายสถานการณ์ มีจีรนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน







วันที่?15 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ตลอดคืนที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังคงยืนหยัด ชุมนุมกันหนาแน่นท ี่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คำประกาศเตือนและ ขู่ของรัฐบาลหาเป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง ในขณะเดียวกันนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยืนหยัดต่อ สู้อย่างเด็ดเดี่ยวมีการลุกฮือเป็นจุด ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง นักเรียน และประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึด
และต่อสู้บุกเข้ายึดและเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้าจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็ยังปรากฏว่า การปราบปราม นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่งพลพรรคมีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็น การสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้น และเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนเกิดพลังในการต่อสู้ต่อไป แม้จะบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมากก็ตามจากการปราบปรามอย่างรุนแรง และไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุะสงครามหนัก ทหาร และตำรวจจำนวนร้อย ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในวงการ รัฐบาลอย่างหนึก มีทหาร และตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกเอง ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหารอากาศ และทหารเรือ ก็เห็นด้วยกับผู้บัญชาการทหารบก กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และในที่สุดคณาธิปไตยทั้งสาม ถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยไป เหตุการณ์ทั้งหมด จึงสงบลงพลันทันที่มี การประกาศว่าบุคคลทั้ง 3 ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เวลา 18.40 น.
เมื่อเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2516 เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปร่วมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับ ไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ 14 – 15 ตุลาคม มีผู้เสียชวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คนวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2516
วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และเข้าสู่ดินแดน แห่งประวัติศาสตร์ และตำนานที่จะจดจำกันไว้ในแผ่นดินนี้ชั่วกาลนาน
“เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์ สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน”


หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นสถานที่ร่าง โดยเรียกกันว่า “สภาสนามม้า” จนนำไปสู่การเลือกตั้งในต้นปี พ.ศ. 2518 ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น มีคำเรียกว่าเป็นยุค “ฟ้าสีทองผ่องอำไพ” แต่ทว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้าน แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จนนำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา




ขอขอบคุณ ที่มา>>>http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4529.html





0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

คร็อพเซอร์เคิล (CROP CIRCLES : AVEBURY, ENGLAND)

คร็อพเซอร์เคิล (CROP CIRCLES : AVEBURY, ENGLAND)

 วงธัญพืช หรือ วงข้าวโพดล้ม หรือ ครอปเซอร์เคิล (อังกฤษ: crop circle) เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงรูปแบบพืชที่ล้มลง ซึ่งเริ่มต้นจาก ข้าวโพด โดยคำนี้รวมถึง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง วงข้าวโพดล้มนี้พบได้หลายแห่งทั่วโลก



คืนหนึ่งในปี 1972 ณ ประเทศอังกฤษ อาเทอร์ ชัตเติลวูด(Arthur Shuttlewood) กับ บริซ บอนด์(Bryce Bond) ซุ่มซ่อนตัวบริเวณเนินเขาสตาร์ฮิล ใกล้เวสมินเตอร์ เพื่อเฝ้าดูปรากฏการณ์แสงประหลาด ซึ่งเกิดขึ้นในแถบนั้นมานานเกือบทศวรรษ เชื่อกันว่ามันคือยูเอฟโอ คืนนั้นทั้งสองผิดหวังเมื่อไม่พบแสงประหลาด แต่ได้รับการชดเชยด้วยร่องรอยบางอย่างที่อาจเกี่ยวข้องกัน นั่นคือ พืชที่ล้มเป็นวงกลม ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า Crop Circles
สี่ปีต่อมาในเดือนกันยายน 1976 เอดวิน เฟอร์(Edwin Fuhr) ชาวนาแห่งแลงเกนเบิร์ก(Langenburg) อ้างว่า เห็นยานรูปโดมสีเงินหลายลำ บินอยู่เหนือทุ่งนาหลังจากที่ยานเหล่านี้จากไปแล้ว เขาก็พบครอปเซอร์เคิลหลายแห่งในบริเวณนั้น นี่คือเรื่องราวแรกเริ่มของปรากฏการณ์วงกลมพืชบนท้องทุ่งของอังกฤษ ที่ผู้คนมากมายเชื่อว่าเป็นหนึ่งในปริศนาลึกลับของโลกอยู่ทุกวันนี้


ครอปเซอร์เคิล ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1678 ที่เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ อังกฤษ ไม่มีใครอธิบายได้ว่าใครหรืออะไรทำให้มันเกิดขึ้น แต่หลังจากการค้นพบของชัตเติลวูดกับบอนด์และเฟอร์แล้ว มันนำไปสู่ทฤษฎีแรกคือร่องรอยการลงจอดของยานจากต่างดาว ตามมาด้วยทฤษฎีอุกกาบาตและทฤษฎีพายุทอร์นาโดขนาดเล็ก ในทศวรรษที่ 1980 ได้มีการค้นพบครอปเซอร์เคิลมากขึ้น โดยเฉพาะรอบๆเมืองวอร์มินสเตอร์(Warminster) ในช่วงต้นของทศวรรษนี้รูปทรงของมันก็ยังคงเหมือนเดิม คือเป็นวงกลมหยาบๆ แต่ในกลางทศวรรษรูปทรงของมันซับซ้อนขึ้น คือมีวงแหวนแตกออกไป และมันเริ่มดึงดูดใจคนอังกฤษมากขึ้น ในทศวรรษนี้เอง ด๊อกเตอร์ เทอร์เรนซ์ มีเดน(Terrence Meaden) ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักอุตุนิยมวิทยาได้พยายามไขปริศนานี้ โดยทำการวิจัยครอปเซอร์เคิลมากกว่า 1,000 แห่ง มีเดนเสนอทฤษฎีว่า ครอปเซอร์เคิลเกิดจากความผิดปกติของอากาศที่เขาเรียกว่า Plasma Vortex ทำให้เกิดลมหมุนวนในระดับสูงแล้วเคลื่อนตัวลงสู่พื้นทำให้พืชแบนราบ


ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนจากผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นคือ ศาสตราจารยโอซึกิ (Ohtsuki) เขาใส่พลาสมา (plasma Fireballs) ลงในถาดแป้ง ผลปรากฏว่ามันทำให้เกิดวงแหวนสองชั้นรอบศูนย์กลาง ปี 1991 ได้มีการค้นพบครอปเซอร์เคิลหลายร้อยแห่งในอังกฤษ มันยังแพร่ระบาดไปในเยอรมัน สหรัฐอเมริกา บราซิล โรมาเนีย ฮังการีและญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้นมันได้เปลี่ยนแปลงรูปทรงใหม่เป็น Pictrogram เสมือนการสื่อความหมายบางอย่างด้วยภาพ รูปแบบใหม่ของมันทำให้ทฤษฎีผู้มาจากต่างมิติที่พยายามสื่อสารกับมนุษย์เริ่มก่อตัวขึ้น ความซับซ้อนของรูปทรงครอปเซอร์เคิล ทำให้ทฤษฎีพลาสมาไม่สามารถอธิบายรูปทรงนี้ได้ ในขณะที่คำกล่าวอ้างเรื่องแสงไฟประหลาดเหนือท้องทุ่งยามดึก แล้วทำให้เกิดครอปเซอร์เคิลในรุ่งอรุณของทฤษฎียูเอฟโอ ก็ยังใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ แต่มันก็ยังเป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในปีเดียวกันนี้เอง ชายชาวอังกฤษสองคนได้ออกมาเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ว่า ครอปเซอร์เคิลเป็นเรื่องหลอกลวงมันเกิดจากฝีมือของมนุษย์ เดฟ คอร์ลีและโดฟ โบเวอร์ (Dave Chorley and Doug Bower) อ้างว่าพวกเขาเป็นผู้สร้างมันขึ้นมารวมแล้วกว่า 1,000 แห่ง ตั้งแต่ปี 1978 โดยใช้ไม้กระดานขนาด 4 ฟุต และเชือกเป็นเครื่องมือ ในขณะเดียวกันก็มีนักหลอกลวงกลุ่มอื่นๆออกปฏิบัติการในยามค่ำคืนอย่างเดียวกับพวกเขาด้วย นิตรสารไทม์ฉบับวันที่ 23 กันยายน 1991 พูดถึงเรื่องนี้ว่า นี่คือการนำไปสู่จุดจบของเรื่องซึ่งเป็นหนึ่งในความลึกลับที่สุดของอังกฤษและของโลกแล้ว อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ครอปเซอร์เคิลก็ไม่ได้หายไปพร้อมกับการเผยตัวของนักหลอกลวงคู่นี้ แต่กลับพุ่งสูงขึ้นในปีต่อมาคือปี 1992 มันเป็นคลื่นลูกใหม่ที่มาพร้อมกับความสลับซับซ้อนของรูปทรงเรขาคณิต และขนาดอันมหึมาหลายร้อยฟุตในทุ่งบาร์เลย์ และ ทุ่งข้าวโพด พร้อมๆกับการแพร่ระบาดไปกว่า 10 ประเทศ และยังทำให้ตัวเลขนักวิจัยเพิ่มสูงขึ้น อีกด้านหนึ่งมันคือศิลปอันวิจิตรพิสดารบนท้องทุ่ง ซึ่งผลิตช่างภาพมืออาชีพมากมาย และเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับครอปเซอร์เคิลที่เฟื่องฟูอยู่ทุกวันนี้


จนถึงปัจจุบัน มีครอปเซอร์เคิลเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่อังกฤษรวมแล้วประมาณ 10,000 แห่ง ส่วนใหญ่เกิดทางภาคใต้ และ 90 เปอร์เซนต์อยู่ในรัศมี 50 ไมล์จากสโตนเฮน(Stonehenge) ครอปเซอร์เคิลบางแห่ง สื่อความหมายเกี่ยวกับจักรวาล แกแล็คซี่ บางแห่งสื่อความหมายเกี่ยวกับหายนะของโลกจากอาวุธนิวเคลียร์ และบางแห่งสื่อความหมายเกี่ยวกับผลร้ายของการทำลายสภาพแวดล้อม ในวันที่ 17 สิงหาคม 2001 นักวิจัยครอปเซอร์เคิลต้องตะลึงกับครอปเซอร์เคิลรูปแบบใหม่สองแห่งในทุ่งข้าวโพดใกล้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Chilbolton ที่ Hampshire อังกฤษ มันเป็นภาพกราฟิกของสัญญาณวิทยุที่ส่งจากโลกไปยังกลุ่มดาว M13 อีกแห่งหนึ่งเป็นภาพหน้าคนที่คล้ายภูเขาหน้าคนบนดาวอังคาร ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อครบรอบปี ได้เกิดครอปเซอร์เคิลแบบนี้ขึ้นอีก มันคือครอปเซอร์เคิลที่แสดงภาพของ E.T. ห่างจากที่ตั้งกล้องโทรทรรศน์ Chilbolton ราว 9 ไมล์ในวันที่ 15 สิงหาคม 2002 สำหรับนักวิจัยแล้ว ความพยายามของพวกเขาไม่ไร้ผล นักวิจัยได้พบเบาะแสบางอย่างที่อาจคลี่คลายปริศนานี้ได้ นั่นคือการพบความผิดปกติในลำต้นของพืชในครอปเซอร์เคิล ที่พวกเขาอ้างว่าสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างของจริงกับที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ ครอปเซอร์เคิลของจริงนั้นลำต้นของพืชที่ล้มซึ่งอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1 นิ้ว มีลักษณะโค้งงอไม่แตกหัก นอกจากนั้นโครงสร้างของเซลล์(cell Pit) ยังเปลี่ยนแปลง คือเซลล์ขยายตัวเหมือนได้รับความร้อน ด๊อกเตอร์ วิลเลียม เลเวนกูด (William C. Levengood) เชื่อว่าไม่ว่าอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดครอปเซอร์เคิล มันต้องใช้พลังงานที่เร็วและหนาแน่นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ นักวิจัยเชื่อว่าพลังงานที่ว่านั้นน่าจะเป็นไมโครเวฟ ทฤษฎีนี้เรียกว่า Microwave Transient Heating นักวิจัยยังอ้างการศึกษาผลกระทบของพืชในครอปเซอร์เคิล เปรียบเทียบกับพืชที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งพบว่า เมล็ดพืชในครอปเซอร์เคิลมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าเมล็ดพืชบริเวณใกล้เคียงถึง 45 เปอร์เซ็นต์


คอลลิน แอนดริวส์ (Colin Andrews) ภาพจาก BBC มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เป็นของด๊อกเตอร์ คอลลิน แอนดริวส์ (Colin Andrews) นักวิทยาศาสตร์อังกฤษซึ่งศึกษาครอปเซอร์เคิลมาเป็นเวลา 17 ปี ในปี 2000 แอนดริวเปิดเผยผลวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ว่า ราวๆ ร้อยละ 80 ของครอปเซอร์เคิลเป็นฝีมือของมนุษย์ ครอปเซอร์เคิลเหล่านี้ จะมีรูปทรงซับซ้อนและวิจิตรพิสดารส่วนที่เหลือซึ่งมีรูปทรงง่ายๆนั้น เขาเชื่อว่ามันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กในบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและกระแสไฟนี้เองเป็นตัวการทำให้พืชล้มลง งานวิจัยที่พบว่าครอปเซอร์เคิลบางแห่งทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นไมโครโฟน หรือเครื่องบันทึกเสียงถูกรบกวนจนใช้การไม่ได้ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นจะรู้สึกปวดศีรษะหรือมีอาการคลื่นไส้ สนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยบางคนเชื่อว่ามันเกิดจากพลังงานที่ตกค้าง
แต่ในปี 2000 ชายชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเปิดเผยตนเองว่าเป็นผู้สร้างครอปเซอร์เคิลที่วิจิตรพิสดารหลายสิบแห่งในภาคใต้ของอังกฤษมากว่า 11 ปี พวกเขาเรียกตนเองว่า Circlemakers โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่างรูปแบบก่อน พวกเขาได้รับเชิญจากสื่อมวลชนให้สาธิตการสร้างครอปเซอร์เคิลที่มีความซับซ้อนหลายครั้ง ซึ่งพวกเขาทำได้จริงๆ และก็ไม่ได้ใช้ไมโครเวฟ ปัจจุบันพวกเขามีเว็บไซต์ที่แสดงผลงานและเสนอข่าวสารเกี่ยวกับครอปเซอร์เคิล ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่ามีทฤษฎีเดียวเท่านั้นที่จะอธิบายครอปเซอร์เคิลได้ นั่นคือ ทฤษฎีมนุษย์เป็นผู้สร้างแต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยครอปเซอร์เคิล ก็ยังเชื่อเหมือนกับแอนดริวว่ามันไม่ทั้งหมดที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิจัยหลายกลุ่มจึงยังดำเนินอยู่ต่อไป Circlemaker คนหนึ่งพูดถึงเรื่องนี้ว่า ไม่มีใครอยากเชื่อคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หรอก เพราะผู้คนต้องการเชื่อสิ่งที่เป็นความลึกลับมากกว่า “ สาธารณชนไม่ต้องการคำอธิบาย “เขากล่าว





ที่มา >>>http://th.wikipedia.org/wiki

0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

โอเรกอน วอร์เท็กซ์ (OREGON VORTEX : GOLD HILL, OREGON)

โอเรกอน วอร์เท็กซ์ (OREGON VORTEX : GOLD HILL, OREGON) โอเรกอน วอร์เท็กซ์ ปริศนาสถานที่สุดพิศดารที่หาคำตอบไม่ได้

 พบกับสถานที่ที่ไม่ลึกลับแต่มันเป็นภาพลวงตาที่หาคำตอบไม่ได้
โอเรกอน วอร์เท็กซ์ เป็นสนามพลังงานแม่เหล็ก ตั้งอยู่ใน หุบเขาทองคำ (gold hill) โอเรกอน
ประเทศอเมริกา โดยสถานที่ตั้งแห่งนี้ ปรากฎการณ์แปลกๆ ที่น่าสนใจ




โอเรกอน วอร์เท็กซ์ (OREGON VORTEX : GOLD HILL, OREGON)
สถานที่นี้ตั้งอยู่ในอเมริกา พบกับสถานที่ที่ไม่ลึกลับแต่มันเป็นภาพลวงตาที่หาคำตอบไม่ได้ แนวแม่เหล็กที่ไขว้กันอยู่ใต้พื้นดิน สนามพลังผิดปกติ เมื่อคุณเข้าไปยืนในนั้นจะรู้สึกเหมือนเป็นตัวประหลาด จุดที่แม่เหล็กไขว้ทับกัน คุณรู้สึกได้ถึงความกดดัน มันผลักกันและกัน และหมุนรอบๆจนคุณทนไม่ไหว การยืด หรือหดตัวอย่างน่าใจหาย ไม่นับสถานที่แห่งนี้ยังมี โรงนาปริศนา ที่ทุกอย่างกลับตาลปัตรไปหมด ตัวของคุณจะเอียง ลูกกอล์ฟกลิ้งขึ้นเนินเองได้ ไม้กวาดตั้งได้เอง จนคุณอยากออกจากประสบการณ์แปลกประหลาดเหล่านี้สู่ โลกแห่งความจริง ที่ทุกอย่างพิสูจน์ได้





ไม่ว่าจะเป็นภาพหลวงตาที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง หรือแรงโน้มถ่วง หรือ
แนวแม่เหล็กที่ไขว้กันอยู่ใต้พื้นดิน สนามพลังผิดปกติ เมื่อคุณเข้าไปยืนในนั้นจะรู้สึกเหมือนเป็นตัวประหลาด จุดที่แม่เหล็กไขว้ทับกัน

คุณรู้สึกได้ถึงความกดดัน มันผลักกันและกัน และหมุนรอบๆจนคุณทนไม่ไหว การยืด หรือหดตัวอย่างน่าใจหาย


ไม่นับสถานที่แห่งนี้ยังมี โรงนาปริศนา ที่ทุกอย่างกลับตาลปัตรไปหมด ตัวของคุณจะเอียง ลูกกอล์ฟกลิ้งขึ้นเนินเองได้ ไม้กวาดตั้งได้เอง จนคุณอยากออกจากประสบการณ์แปลกประหลาดเหล่านี้สู่ โลกแห่งความจริง ที่ทุกอย่างพิสูจน์ได้

ไม้กวาดตั้งได้เอง



From outside the shack, water (or a ball) is clearly running slightly downhill, nothing unusual about that



But from inside the shack, I perceive the overall interior space as level, so water (or a ball) appears to be running uphill.



0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ภาพลายเส้นนาชคา


ภาพลายเส้นนาชคา

ทะเลทรายในภาคใต้ของเปรู ได้มีลายเส้นเครื่องหมายหรืออาจเป็นสัญลักษณ์บางสิ่งบางอย่าง ปรากฏขึ้นอย่างดาษดื่นทั่วไปกินเนื้อที่หลายร้อยตารางไมล์ แต่ส่วนใหญ่พบอยู่ในระหว่างเมืองนาซคากับเมืองปัลปา ลักษณะมีการขีดเน้นอย่างจงใจและประณีต ลายเส้นเหล่านี้นิยมเรียกกันว่า "นาซคาไลน์"


นาซคาไลน์ มีหลายรูปแบบ ชนิดที่เป็นทรงเรขาคณิตก็มี ทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมู วงกลมเส้นหยัก เส้นแคบ ยาวกว่า 5 ไมล์ นอกจากนั้นยังมีรูปนก สัตว์เลื้อยคลาน ปลาวาฬ ลิง แมงมุม บางภาพก็คล้าย เครื่องปั้นดินเผาโบราณของชาวเมืองนาซคาที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเล



นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นงานของชาวเมืองนี้อายุลานเส้นสันนิษฐานว่าตกอยู่ใน ยุค 100 ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช 700นา ซคาไลน์ แม้จะดูทำขึ้นแบบง่ายๆ แต่คำนวณแล้วว่าต้องใช้เวลามาก ไม่ว่าจะเป็นการเกลี่ยหินหน้าทรายการจัดแนวหินให้เป็นเส้นตรง การออกแบบหาไอเดียเพื่อให้เหมาะกับภูมิประเทศ ซึ่งไม่มีฝนตกเลย อย่างน้อยก็พันปีมาแล้ว มีการเดาไปต่างๆ นานา บ้างว่าเป็นถนนก่อนประวัติศาสตร์ ฟาร์ม สนาม ยานอวกาศ เครื่องหมายหรือสัญญาณบอกเรื่องราวแก่สิ่งที่อยู่บนท้องฟ้า เช่น มนุษย์ต่างดาว หรือพระเจ้าในความเชื่อถือทางศาสนา แต่ในที่สุดก็ไม่มีใครรู้จริง นอกจากจะสันนิษฐานว่าเป็นผลงานทางศิลปะของอินเดียนแดงโบราณ



ทว่าไม่มีใครรู้เลยว่าชาวอินเดียนแดงโบราณสร้างมันขึ้นมาทำไม ?

ตั้งแต่มีผู้พบเห็นลายเส้นเหล่านี้ทางอากาศเมื่อปลายปี ค.ศ. 1920 ดร.พอล โคโซค เป็นคนแรกที่ได้รับทุนค้นคว้าสรุปผลจากการศึกษาว่า อาจเป็นปฏิทินทางดาราศาสตร์หรือไม่ก็เป็นปฏิทินทำนายเกี่ยวกับสายน้ำในหุบ เขา

ต่อมาในปี 1968 สถาน บันเนชั่นแนลจีโอกราฟฟีค ฝ่ายสังคมศึกษาพบว่า ลายเส้นต่างๆ ในพื้นที่เหล่านี้ตั้งอยู่ในจุดระหว่างกลางดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ขึ้นและตกในวันเวลาที่มันอยู่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตรโลกที่สุด ตั้งแต่ในสมัยโบราณ แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่มีใครคาดคิดได้ว่ามันจะเป็นประโยชน์อะไรขึ้นมากับ การศึกษานาซคาไลน์ความประหลาดลึกลับของลายเส้นต่างๆ ในทะเลทรายเปรูยิ่งดูเหมือนท้าท้ายคำถามต่างๆ อาทิ ทำไมชาวนาซคาโบราณจึงทุ่มเทเวลาสร้างสรรค์ลายเส้นมโหฬารเหล่านี้มากมาย ทั้งที่บางอย่างพวกเขาอาจจะไม่เคยเห็นและผู้คนจะเห็นนาซคาไลน์ก็ต่อเมื่อมอง ลงมาจากอากาศเท่านั้น คนสำคัญที่สุดที่ทุ่มเทเวลาศึกษานาซคาไลน์ถึง 25 ปี คือ มาเรีย ไรเช่ เธอได้ถ่ายภาพและทำแผนที่งานของเธอเรียกว่า ลาส ลีเนียร์ รูปเครื่องหมายลายเส้นต่างๆ เป็นร้อยๆภาพ ซึ่งปรากฏอยู่บนทรายสูงทะเลทรายแห่งนี้ กินเนื้อที่สำรวจถึง 30 ไมล์ โดยอาศัยแผนที่จากสายการบินแพนแอมซึ่งทำไว้ก่อนกับความสนับสนุนจากสถาบัน เนชั่นแนลจีโอกราฟิคช่วยเหลือในงานของเธอ



มา เรีย ไรเช่ นักคำนวณชาวเยอรมันเธอทำแผนที่ภูมิศาสตร์แสดงทิศทางของดาววัดบนพื้นโลก บริเวณนาซคาไลน์ไว้อย่างละเอียด หลังจากวัดลายเส้นซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูแห่งหนึ่ง เธอให้ความเห็นว่าบริเวณนั้นอาจเป็นสนามยานอวกาศจากมนุษย์ต่างดาว ซึ่งมาเยือนโลกเมื่อสมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ ลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูนี้ถ้าจะสันนิษฐานว่าเกิดจากความคิดของนัก เรขาคณิตบ้าๆ คนหนึ่งก็อาจเป็นข้อสันนิษฐานที่น่าฟัง เพราะจากลายเส้นที่ใหญ่โตและที่เล็กๆ ทอดก่ายกัน แม้จะมีระเบียบแต่ก็อ่านจุดประสงค์ไม่ได้ว่า เขาต้องการจะบอกอะไรและดูเหมือนว่าเขาไม่สู้จะคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศด้วย รูปทรงเรขาคณิตแบบสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าอีกบริเวณหนึ่ง ในหุบเขาใหญ่ใกล้ที่ทำการกสิกรรมของนาซคาซึ่งสามารถยืนมองจากหุบเขาอินเก นิโอก็เป็นสิ่งที่น่าประหลาดที่ว่มันถูกขีดขึ้นประกอบด้วย รูปสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมไม่สับสนจากที่ลาดต่ำไปสู่ที่ลาดสูง และก็เช่นเดียวกันเช่นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ ที่ค้นพบคือไม่ทราบจุดประสงค์นอกจากสันนิษฐานว่าอาจเป็นแบบฟอร์มของระบบการ ชลประทาน

" ลายเส้นทั้งหมด" มิสไรเช่ให้ข้อสังเกต " เป็นเส้นตรง ยาวเป็นไมล์ๆ ข้ามหุบเขาและภูเขา ไม่มีสักเส้นเดียวที่จะคดเคี้ยว มันเป็นแนวตรงอย่างน่าประหลาดทุกเส้น"


แล้ว ชาวนาซคาจะได้ประโยชน์อะไรจากลายเส้นเหล่านี้ เส้นตรงบางเส้นมีร่องรอยคล้ายเป็นจุดของยามทุกๆ 1 ไมล์ สงสัยกันว่าจะเป็นจุดสังเกตการณ์สำหรับการส่งข่าวแบบอินเดียนแดง แต่เหตุผลนี้ก็แทบนับไม่ได้ว่าเป็นเหตุผลลายเส้นที่น่าทึ่งอีกภาพหนึ่งคือ ลายเส้นของลิงในท่าคว้าจับอะไรบางอย่าง แขนซ้ายของมันวัดได้ยาวถึง40 ฟุต สังเกตลักษณะรูปร่างของมันคล้ายลิงหลายชนิด ขนดกเป็นปุย อาจเป็นลิงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า คาปูชินซึ่งอยู่ในป่าเขตร้อนทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดิส ห่างไปจากจุดที่นั่นถึง 200 ไมล์ ศิลปินชาวนาซคาซึ่งคงจะรู้จักลิงชนิดนี้จากการบอกเล่าของพ่อค้าชาวป่า โดยที่ไม่รู้เรื่องทางสรีระของลิงชนิดนี้อย่างละเอียดออกมาเป็นว่าลิงตัวนี้ มี 4 นิ้วจากมือข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งมี 5นิ้วและหางซึ่งเกาะเกี่ยวกิ่งไม้ได้กลับม้วนขึ้นไปแทนที่จะห้อยลงตาม ธรรมชาติวิสัยของลิงชนิด







นอก จากนี้บริเวณทุ่งหญ้า ซึ่งมีนก รูปปลาวาฬว่ายน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆโครงสร้างหลายภาพคล้ายคลึง กับเครื่องปั้นดินเผา ของชาวนาซคาโบราณดังกล่าว มากมาย ปลาวาฬเคลือบซึ่งสร้างในปลายสมัยคริสตวรรษที่ 3ก็ มีรูปคล้ายคลึงกับลายเส้นปลาวาฬซึ่งพบในทะเลทราย ต่างกันตรงที่ลายเส้นปลาวาฬที่พบมีห่วงห้อยไว้ด้วยคงคล้าย เป็นการประกาศความเป็นผู้พิชิต เช่นเดียวกับปลาวาฬเคลือบ ซึ่งสร้างไว้เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ความเก่งกล้าของผู้พิชิตปลาวาฬ นอกจากนั้นยังมีรูปคนเขียนไว้บนเนินเขา คล้ายคลึงกันกับเครื่องปั้นดินเผาโบราณของอินเดียนแดงนาซคาที่นี้มาถึงรูปนก ซึ่งสันนิษฐานตอนแรกๆ ว่าอาจเป็นรูปยานอวกาศ อย่างไรก็ดีลักษณะลายเส้นบ่งชัดว่าเป็นรูปนกต่างๆ กันถึง 18ภาพที่แจ่มชัดเป็นลายเส้นนกฮัมมิ่งเบิร์ด นกเป็นน้ำและนกทะเลซึ่งยาวถึง450 ฟุต แต่ภาพกลับเขียนไม่เต็มตัว

อลัน ซอว์เยอร์ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ให้ความเห็นว่า " เรา แน่ใจว่ามันมีความหมาย แต่ก็ไม่รู้แน่ชัดว่ามันมีความหมายว่ายังไง เส้นต่างๆ โดยเฉพาะลายเส้นของนกประกอบด้วยเส้นลายเพียงเส้นเดียว ซึ้งไม่มีการลากตัดกันเลย บางทีอาจจะเป็นลายเส้นเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นอาจสันนิษฐานได้ว่าพวกเขาคงยอมรับนับถืออะไรก็ได้ที่ ศิลปินเขียนขึ้น เช่นอย่างอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ ยึดถือกัน โดยเขียนภาพขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น "เครื่อง หมายเคลือบดินเผาที่มีอยู่หมายถึงที่คล้ายคลึงภาพลายเส้นซึ่งปรากฏในทะเล ทราย ส่วนใหญ่จัดได้ว่ายังเป็นงานฝีมือระดับต่ำ แต่ว่างานเหล่านี้บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ หลักประกันในเรื่องอาหารและชีวิตดร. ซอว์เยอร์กล่าวว่า

"ถ้าจะคิดตามแนวทางความคิดของศิลปินจากงานที่ค้นพบมันก็เป็นการแสดงออกถึง ความคิดของผู้แร้นแค้น สะท้อนสภาวะความรู้สึกออกมาจากวิญญาณ"


อีกแนวความคิดหนึ่งที่ได้มาจากภาพลายเส้นแมงมุมที่มีความยาวถึง 150 ฟุต ที่ถ่ายภาพไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1963เปรียบเทียบกับภาพถ่ายลายเส้นนี้ในปัจจุบัน คล้ายกับว่าเป็นซากแมงมุมยักษ์ซึ่งนอนตาย

แต่ ปัจจุบันรอยเส้นนี้กำลังสูญหายไป จากพายุทรายบ้าง รถจิ๊บของนักท่องเที่ยว รอยย่ำบ้างนาซคาไลน์ ในไม่ช้าก็เร็วคงจะถูกทำลายไปดังกล่าว มันอาจเป็นสนามยานอวกาศอาจเป็นงานของนักเรขาคณิตผู้บ้าคลั่ง อาจเป็นโครงร่างของระบบชลประทาน อาจเป็นงานศิลป์ของชาวอินเดียนแดง อาจเป็นอะไรก็ได้ด้วยเหตุผลซึ่งสันนิษฐานจากข้อมูลต่างๆ เท่าที่มีอยู่ แต่ความจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของมัน คงจะยังเป็นสิ่งประหลาด ที่ท้าทายการพิสูจน์ไปอีกนานเท่านาน


ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/rxypaedphankea/phaph-lay-sen-nach-kha

https://www.xing.com/go/invite/18762544

0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

เขมรฮือฮา

พระพักตร์สมเด็จฯสีหนุ บนขอบดวงจันทร์


ข่าวฮือฮา
ย่านตลาดโรงเกลือ พบภาพคล้ายพระพักตร์สมเด็จพระนโรดม สีหนุปรากฏอยู่ตรงขอบดวงจันทร์ 2 คืนซ้อน ชาวเขมรเชื่ออภินิหาร สวรรคตครบ 7 วัน และยังทรงห่วงชาวเขมร…

เมื่อวันที่ 23 ต.ค.2555 ที่ตลาดโรงเกลือ ตลาดการค้าชายแดน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ตรงข้ามกรุงปอยเปต จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ได้เกิดข่าวลือสนั่นไปทั่วว่า สมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ที่เสด็จสวรรคตครบ 7 วัน ทรงสร้างอภินิหารปรากฏภาพพระพักตร์อยู่บนขอบดวงจันทร์ในยามค่ำคืน โดยปรากฏมา 2 คืนซ้อนแล้ว สร้างความฮือฮาแก่ชาวเขมรในตลาดโรงเกลือ และตลาดปอยเปต ออกมายืนดูและวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา



ทั้งนี้ ชาวเขมรจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือและกล้องถ่ายรูปบันทึกภาพดวงจันทร์ที่เชื่อกันว่า มีภาพคล้ายพระพักตร์ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อยู่บริเวณขอบดวงจันทร์ ซึ่งขึ้นทางทิศตะวันตกเป็นดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยว โดยทอดพระเนตรไปทางประเทศกัมพูชา ชาวเขมรที่พบเห็นต่างพนมมือไหว้ และวิจารณ์ว่าเป็นอภินิหารของ "สมเด็จตา" ซึ่งเป็นคำที่ชาวเขมรเรียกสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสด็จสวรรคตครบ 7 วัน แต่ยังทรงห่วงประชาชนชาวกัมพูชา จึงทรงปรากฏให้เห็นบนดวงจันทร์

ร.อ.อภินันท์ สงครามชัย ผบ.ร้อย ทพ.1206 ฉก.กรม.ทพ.12 กกล.บูรพา (ผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 1206 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12 กองกำลังบูรพา) ซึ่งดูแลพื้นที่แนวชายแดน ด้านตลาดโรงเกลือ และจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึกเผยว่า ในคืนวันที่ 22 ต.ค.2555 ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 20.00 น. ชาวเขมรหลายร้อยคนออกมายืนดูดวงจันทร์ และต่างฮือฮา บอกว่าเป็นภาพใบหน้าของสมเด็จตาปรากฏให้เห็นมา 2 คืนซ้อน

"เนื่องจากเป็นความเชื่อของชาวเขมร เจ้าหน้าที่เพียงดูแลความสงบเรียบร้อยเท่านั้น ไม่สามารถวิจารณ์อะไรได้ เนื่องจากอยู่ที่จินตนาการของแต่ละคนว่าสามารถมองเห็นเป็นภาพอะไรบ้าง แต่ก็ยอมรับว่าเมื่อมองดูแล้วลักษณะเป็นก้อนเมฆสีขาวคล้ายใบหน้าคน" ร.อ.อภินันท์ กล่าว.
โดย: ทีมข่าวภูมิภาค 

0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

มวยไทย

ประวัติมวยไทย


มวยไทยกับคนไทย
      จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ลักษณะร่างกายโดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ
....มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย
....สมัยกรุงสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ.1781 - 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงครามกับประเทศอื่นรอบด้าน จึงมีการฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกายเข้าช่วยในการรบระยะประชิดตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
....หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัยมักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริมลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับราชการทหารและถือเป็นประเพณีอันดีงาม ในสมัยนั้นจะฝึกมวยไทยตามสำนักที่มีชื่อเสียง เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีการฝึกมวยไทยตามลานวัดโดยพระภิกษุอีกด้วย วิธีฝึกหัดมวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ครูมวยจะใช้กลอุบายให้ศิษย์ ตักน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและอดทนก่อนจึงเริ่มฝึกทักษะ โดยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ๆไว้กับกิ่งไม้ แล้วชกให้ถูกด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก นอกจากนี้ยังมีการฝึกเตะกับต้นกล้วย ชกกับคู่ซ้อม ปล้ำกับคู่ซ้อม จบลงด้วยการว่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน ครูมวยจะอบรมศีลธรรมจรรยา ทบทวนทักษะมวยไทยท่าต่างๆ จากการฝึกในวันนั้นผนวกกับทักษะท่าต่างๆ ที่ฝึกก่อนหน้านี้แล้ว
....สมัยกรุงสุโขทัยมวยไทยถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของกษัตริย์ เพื่อฝึกให้เป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีสมรรถภาพร่างกายดีเยี่ยม เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถในการปกครองประเทศต่อไป ดังความปรากฏตามพงศาวดารว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์กรุงสุโขทัยพระองค์แรกทรงเห็นการณ์ไกลส่งเจ้าชายร่วงองค์ที่ 2 อายุ 13 พรรษา ไปฝึกมวยไทยที่ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เพื่อฝึกให้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าในอนาคต และในปี พ.ศ. 1818 - 1860 พ่อขุนรามคำแหงได้เขียนตำหรับพิชัยสงคราม ข้อความบางตอนกล่าวถึงมวยไทยด้วย นอกจากนี้พระเจ้าลิไท เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากสำนักราชบัณฑิตในพระราชวังมีความรู้แตกฉานจนได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ซึ่งสำนักราชบัณฑิตมิได้สอนวิชาการเพียงอย่างเดียว พระองค์ต้องฝึกภาคปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าแบบมวยไทย และการใช้อาวุธ คือ ดาบ หอก มีด โล่ห์ธนู เป็นต้น


มวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    สมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มประมาณ พ.ศ.1988 - 2310 ระยะเวลา 417 ปี บางสมัยก็มีศึกกับประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า และเขมร ดังนั้นชายหนุ่มสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงต้องฝึกฝนความชำนาญในกานต่อสู้ด้วยอาวุธและศิลปะป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยมีครูผู้เชี่ยวชาญทางการต่อสู้เป็นผู้สอน การฝึกเริ่มจากในวังไปสู่ประชาชน สำนักดาบพุทธไทสวรรค์เป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียงสมัยอยุธยา มีผู้นิยมไปเรียนมาก ซึ่งในการฝึกจะใช้อาวุธจำลอง คือดาบหวายเรียกว่า กระบี่กระบอง นอกจากนี้ยังต้องฝึกการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เรียกว่า มวยไทย ควบคู่กันไปด้วย ในสมัยนี้วัดยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาปฏิบัติในเชิงอาวุธควบคู่กับมวยไทยอีกด้วย
• สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2147)
    พระองค์ทรงเลือกคนหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกับพระองค์มาทรงฝึกหัดด้วยพระองค์เอง โดยฝึกให้มีความกล้าหาญ มีความเชื่อมั่นตนเอง ใช้อาวุธได้ทุกชนิดอย่างชำนาญ มีความสามารถในศิลปะการต่อสู้มวยไทยดีเยี่ยม และพระองค์ทรงตั้ง กองเสือป่าแมวมอง เป็นหน่วยรบแบบกองโจร ซึ่งทหารกองนี้เองมีบทบาทมากในการกอบกู้เอกราชจากพม่าในปี พ.ศ.2127

• สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2147 - 2233)
      สภาพบ้านเมืองสงบร่มเย็น มีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงให้การส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมวยไทยนั้นนิยมกันมากจนกลายเป็นกีฬาอาชีพ มีค่ายมวยเกิดขึ้นมากมาย มวยไทยสมัยนี้ชกกันบนลานดิน โดยใช้เชือกเส้นเดียวกั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้งหรือน้ำมันดินจนแข็งพันมือ เรียกว่า คาดเชือก หรือ มวยคาดเชือก นิยมสวมมงคลไว้ที่ศีรษะ และผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขนตลอดการแข่งขัน การเปรียบคู่ชกด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คำนึงถึงขนาดร่างกายลาอายุ กติกาการชกง่ายๆ คือ ชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ ในงานเทศกาลต่างๆ ต้องมีการจัดแข่งขันมวยไทยด้วยเสมอ มีการพนันกันระหว่างนักมวยที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่งกับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง

• สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ.2240 - 2252)
     สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสุรศักดิ์ พระองค์ทรงโปรดการชกมวยไทยมาก ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จไปที่ตำบลหาดกรวด พร้อมด้วยมหาดเล็กอีก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านไปเที่ยวงานแล้วเข้าร่วมการเปรียบคู่ชก นายสนามรู้เพียงว่าพระองค์เป็นนักมวยจากเมืองกรุงจึงจัดให้ชกกับนักมวยฝีมือดีจากสำนักมวยเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก ซึ่งพระองค์ชกชนะทั้งสามคนรวด นกจากนี้พระองค์ทรงฝึกฝนให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพร พระราชโอรสให้มีความสามารถในด้านมวยไทย กระบี่กระบองและมวยปล้ำอีกด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ....พระมหากษัตริย์ทรงโปรดให้มีกรมมวยหลวงขึ้นโดยให้คัดเลือกเอาชายฉกรรจ์ที่มีฝีมือในการชกมวยไทยเข้าต่อสู้กันหน้าพระที่นั่ง แล้วคัดเลือกผู้มีฝีมือเลิศไว้เป็นทหารสนิท และทหารรักษาพระองค์ เรียกว่า "ทหารเลือก" สังกัดกรมมวยหลวง มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย ภายในพระราชวังหรือตามเสด็จในงานต่างๆ ทั้งยังเป็นครูฝึกมวยไทยให้ทหารและพระราชโอรสอีกด้วย



สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
หลังจากพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ มีนักมวยมีชื่อเสียงสองคน ดังนี้
๑. นายขนมต้ม เป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรดให้จัดงานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทยฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ซึ่งนายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่าถึง ๑๐ คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดนเป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบเสมือน "บิดามวยไทย" และวันที่ ๑๗ มีนาคม ถือว่า เป็นวันมวยไทย
๒.พระยาพิชัยดาบหัก (พ.ศ.๒๒๘๔ - ๒๓๒๕) เดิมชื่อจ้อย เป็นคนเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความรู้ความสามารถเชิงกีฬามวยไทยมาก ได้ฝึกมวยไทยจากสำนักครูเที่ยงและใช้วิชาความรู้ชกมวยไทยหาเลี้ยงตัวเองมาจนอายุได้ ๑๖ ปี แล้วจึงฝึกดาบ กายกรรม และมวยจีนจากคนจีน ด้วยฝีมือเป็นเลิศในเชิงมวยไทยและดาบ เป็นที่ปรากฏแก่สายตาของพระยาตาก จึงนำเข้าไปรับราชการได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยอาสา หลังจากพระเจ้าตากสิ้นได้กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ก็ให้พระยาพิชัยไปครองเมืองพิชัยบ้านเมืองเดิมของตนเอง ในปี พ.ส.๒๓๑๔ พม่ายกทับมาตีเมืองเชียงใหม่แล้วเลยมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยนำทหารออกสู้รบ การรบถึงขั้นตะลุมบอน จนดาบหักทั้งสองข้าง จึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก
สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรีเริ่ม พ.ศ.๒๓๑๐ - ๒๓๒๔ ระยะเวลา ๑๔ ปี บ้านเมืองอยู่ระหว่างการฟื้นฟูประเทศ หลังจากการกู้อิสรภาพคืนมาได้ การฝึกมวยไทยสมัยนี้เพื่อการสงครามและการฝึกทหารอย่างแท้จริง
ในยุคนี้มีนักมวยฝีมือดีมากมาย เช่น นายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ส่วนนักมวยที่เป็นนายทหารเลือกของพระเจ้าตากสิน ได้แก่ หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี นายหมึก นายทองดี ฟันขาว หรือพระยาพิชัยดาบหัก การจัดชกมวยในสมัยกรุงธนบุรี นิยมจัดนักมวยต่างถิ่น หรือลูกศิษย์ต่างครูชกกัน กติกาการแข่งขันยังไม่ปรากฏชัดเจน ทราบเพียงแต่ว่าชกแบบไม่มีคะแนน จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้ไป สังเวียนเป็นลานดิน ส่วนมากเป็นบริเวณวัด นักมวยยังชกแบบคาดเชือกสวมมงคล และผูกประเจียดที่ต้นแขนขณะทำการแข่งขัน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กีฬามวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๔๑๑ ระยะเวลา ๘๖ ปี กีฬามวยไทยยังเป็นศิลปะประจำชาติ มีการจัดแข่งขันในงานเทศกาลประจำปี กติกาเริ่มมีการกำหนดเวลาการแข่งขันเป็นยก โดยใช้กะลามะพร้าวที่มีรูลอยน้ำถ้ากะลามะพร้าวจมถึงก้นอ่างก็จะตีกลองเป็นสัญญาณหมดยก การแข่งขันไม่กำหนดยก ชกกันจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้
สมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ ๒๓๒๕- ๒๓๕๒)
พระองค์ทรงฝึกหัดมวยไทยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงสนพระทัยในการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันชกมวยไทยอยู่เสมอ ในปี พ.ศ.๒๓๓๑ พ่อค้าชาวฝรั่งเศสสองพี่น้องเดินทางไปค้าขายทั่วโลกด้วยเรือกำบั่น คนน้องเป็นนักมวยฝีมือดี เที่ยวพนันชกมวยมาหลายเมืองเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครจึงได้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลัง ขอชกมวยพนันกับคนไทยพระยาพระคลังได้นำความขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงตรัสปรึกษากับกรมพระราชวังบวรพระอนุชา ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือมวยไทย และคุมกรมมวยหลวงอยู่ในขณะนั้น รับตกลงพนันกันเป็นเงิน ๕๐ ชั่ง กรมพระราชวังบวรคัดเลือกทนายเลือกวังหน้าฝีมือดีชื่อ หมื่นผลาญต่อสู้กับนักมวยฝรั่งเศสครั้งนี้ สังเวียนการแข่งขันจัดสร้างขึ้นที่สนามหลังวัดพระแก้ว โดยใช้เชือกเส้นเดียวผูกกับเสา ๔ ต้น สูงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขึงกั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ ๒๐ เมตร ด้านหน้าปลูกพลับพลาที่ประทับ กติกาการแข่งขันไม่มีการให้คะแนน ชกกันจนกว่าจะแพ้ชนะกันโดยเด็ดขาด เมื่อใกล้เวลาชกทรงตรัสสั่งให้แต่งตัวหมื่นผลาญ ด้วยการชโลมน้ำมันว่านยาตามร่างกาย ผูกประเจียดเครื่องรางที่ต้นแขน แล้วให้ขี่คอคนมาส่งถึงสังเวียน



เมือการแข่งขันเริ่มขึ้น ฝรั่งได้เปรียบรูปร่าง เข้าประชิดตัว พยายามจะปล้ำเพื่อหักคอและไหปลาร้า หมื่นผลาญพยายามปิดป้อง ปัดเปิด สลับกับเตะถีบชิงต่อยแล้วถอยวนหนียิ่งชกนานฝรั่งยิ่งเสียเปรียบเรพาะทำอะไรไม่ได้ ฝรั่งพี่ชายเห็นว่าถ้าชกต่อไปน้องชายคงเสียเปรียบแน่จึงตัดสินใจกระโดดเข้าไปขวางกั้นไม่ให้หมื่นผลาญถอยหนี การกระทำเหมือนช่วยกัน จึงเกิดมวยหมู่ระหว่างพวกฝรั่งกับพวกทนายเลือก ฝรั่งบาดเจ็บหลายคน รัชกาลที่ 1 พระราชทานหมอยาหมอนวดไปรักษาพยาบาล เมื่อหายดีแล้วฝรั่งเศสสองพี่น้องก็ออกเรือกลับไป
• สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352 - 2367)
......เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) จากสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) ซึ่งเคยเป็นแม่ทับเก่า ครั้นเมื่อพระชนม์อายุ 16 พรรษา ได้เสด็จมาประทับในพระราชวังเดิมและทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกเพิ่มเติมอีก อีกทั้งทรงโปรดใหญ่สร้างสนามมวยที่สนามหญ้าบริเวณวังหลัง และทรงเปลี่ยนคำว่า "รำหมัด รำมวย" มาเป็น "มวยไทย"
• สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367 -2394)
.......
พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกในรัชกาลที่ 2 ในสมัยนี้ประชาชนตามหัวเมืองยังคงนิยมฝึกมวยไทยและกระบี่กระบองกันอยู่ ด้วยเหตุผลนี้เองท้าวสุรนารี หรือคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองโคราช จึงสามารถคุมทับออกต่อสู้เอาชนะกองทัพของเจ้าอนุวงค์แห่งเมืองเวียงจันทร์ รักษาเมืองไว้ได้
• สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394 - 2411)
......ในขณะที่ทรงพระเยาว์ ทรงแต่งองค์อย่างกุมารชกมวยไทย และเล่นกระบี่กระบองโชว์ในงานสมโภชหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสมัยนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของอารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย แต่มวยไทยยังคงเป็นกีฬาประจำชาติอยู่
• สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411 - 2453)
......พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักมวยหลวง ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ถวาย0การสอน ทำให้พระองค์โปรดกีฬามวยไทยมาก เสด็จทอดพระเนตรการชกมวยหน้าพระที่นั่ง ทรงโปรดให้ข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ คัดนักมวยฝีมือดีมาชกกันหน้าพระที่นั่งเพื่อหานักมวยที่เก่งที่สุดเข้าเป็นทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมมวยหลวง
.....พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของกีฬาประจำชาติ จึงตรัสให้มีการแข่งขันมวยไทยขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความนิยมกีฬามวยไทยมากขึ้น นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มี "มวยหลวง" ตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน จัดการแข่งขัน และควบคุมการแข่งขันมวยไทย เมื่อมีงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น งานโสกันต์ งานพระเมรุหรืองานรับแขกเมือง สำนักพระราชวังจะออกหมายเรียกให้มวยหลวงนำคณะนักมวย คณะปี่กลองมาร่วมแสดงในงานด้วย ดังเช่นในงานศพของ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ซึ่งจัดขึ้นที่ท้องทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ด้านป้อมเผด็จดัสกร ในงานนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดแข่งขันมวยไทยหน้าพระที่นั่ง มีนักมวยฝีมือดีจากต่างจังหวัดหลายคนชกชนะคู่ต่อสู้ได้รับพระราชทาน "หมื่น" ดังนี้
1. หมื่นมวยมีชื่อ คือ นายปล่อง จำนงทอง นักมวยฝีมือดีจากเมืองไชยา ผู้ชกด้วยท่าเสือลากหางเข้าจับทุ่มคู่ต่อสู้จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง
2. หมื่นมวยแม่นหมัด คือ นายกลิ้ง ไม่ปรากฏนามสกุล นักมวยฝีมือดีจากเมืองลพบุรี ผู้มีลีลาการชกฉลาด รุกรับ หลบหลีกว่องไว ใช้หมัดตรงได้อย่างดียอดเยี่ยม
3. หมื่นชงัดเชิงชก คือ นายแดง ไทยประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากเมืองโคราช ผู้มีการเตะที่รุนแรง และมีหมัดเหวี่ยงอันเลื่องลือ สมยานามว่า "หมัดเหวี่ยงควาย"
...ปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น ให้มวยไทยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนครูฝึกหัดพลคึกษา และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ในสมัยนี้เป็นที่ยอมรับว่า คือ ยุคทองของมวยไทย





สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453 - 2468)
...ในระหว่างปี พ.ศ.2457 - 2461 ประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ณ เมืองมาเซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินเป็นแม่ทัพคุมทหารไทยไปร่วมรบในครั้งนี้ ท่านเป็นผู้สนใจมาก ได้จัดมวยไทย ชกมวยไทยโชว์ให้ทหารและประชาชนชาวยุโรปชม สร้างความชื่นชอบและประทับใจอย่างยิ่ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มวยไทยเริ่มเผยแพร่ในยุโรป
....ปี พ.ศ.2464 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ...สนามมวยสวนกุหลาบเป็นสนามมวยถาวรแห่งแรกที่จัดการแข่งขันเป็นประจำ บนสนามฟุตบอลภายในโรงเรียนสวนกุหลาบ ระยะเริ่มแรก ผู้ชมจะนั่งและยืนรอบสังเวียนซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 26 เมตร ขีดเส้นกั้นบริเวณห้ามผู้ชมล้ำเขตสังเวียน นักมวยคาดเชือกที่มือด้วยด้ายดิบ สวมมงคล ผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขน สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับบุนวมป้องกันอวัยวะที่สำคัญ และใช้ผ้าคาดทับรอบเอวอย่างแน่นหนาอีกครั้ง ไม่สวมเสื้อและรองเท้า กรรมการผู้ชี้ขาดแต่งกายด้วยชุดผ้าม่วงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตนและสวมถุงเท้าขาว
....มวยคู่ผู้ที่สนใจมาก คือ หมื่นมวยแม่นหมัด นกมวยฝีมือดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งอายุได้ 50 ปี ชกกับนายผ่อง ปราบสบถ นักมวยหนุ่มฝีมือดี รูปร่างสูงใหญ่ อายุ 22 ปี จากโคราช การชกครั้งนี้เพื่อแก้แค้นแทนบิดาที่แพ้หมื่นมวยแม่นหมัด เมื่อครั้งชกกันหน้าพระที่นั่งงานพระเมรุขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ การแข่งขันใช้เวลา 2 นาที หมื่นมวยแม่นหมัดถูกหมัดเหวี่ยงควายของนายผ่อง ล้มนอนหมดสติกับพื้นสนาม ผู้ชมต่างตื่นเต้นกับชัยนะของนายผ่อง วิ่งเข้าห้อมล้อมเพื่อแสดงความยินดี ทำให้เกิดความวุ่นวาย เจ้าที่และลูกเสือต้องทำงานหนัก จากเหตุการณ์ครั้งนี้คณะกรรมการจัดมวยจึงจัดประชุมเพื่อหาทางแก้ไข ในที่สุดตกลงสร้างเวทีมวยขึ้นใหม่ในวันรุ่งขึ้น โดยยกพื้นเวทีสูง 4 ฟุต ปูพื้นด้วยเสื่อจันทบูรณ์หลายผืนเย็บติดกัน มีเชือกกั้นเวทีขนาด 1 นิ้ว มีช่องตรงมุมบันไดสำนักมวยและผู้ตัดสินขึ้นลง ผู้ตัดสินแต่งเครื่องแบบเสือป่าเต็มยศ มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลาโดยใช้นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณการชกแข่งขันกัน 11 ยกๆ ละ 3 นาที ต้องแยกจากกันเมื่อผู้ตัดสินสั่งแยก ห้ามกัด ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้ ถ้าคู่ต่อสู้ล้มให้ไปยืนรอที่มุมกลาง มีวงมโหรีปี่กลองของหมื่นสมัคร เสียงประจิตร บรรเลงให้จังหวะขณะแข่งขัน
....ประชาชนสนใจเข้าชมการแข่งขันกันมากและเรียกร้องให้จัดต่อไปอีก รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี แม่กองเสือป่า จัดแข่งขันชกมวยเพื่อหาทุนซื้อปืนให้กองเสือป่า โดยให้สมุเทศาภิบาลและข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ จัดนักมวยฝีมือดีมาชกกัน นักมวยส่วนใหญ่จากต่างจังหวัดจะพักที่ห้องสโมสรเสือป่า บริเวณสวนดุสิตเมื่อนักมวยเปรียบคู่ได้แล้ว นักข่าวจะถ่ายภาพทำโฆษณา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการโฆษณา การแข่งขันมวยไทย
...มวยคู่ประวัติศาสตร์ที่สามารถทำเงินได้มากที่สุดในยุคนั้น คือ นายยัง หาญทะเล กับ จี๊ฉ่าง (โฮ้ว จงกุ๋น) นักมวยจีน ผลการแข่งขันจี๊ฉ่างถูกชกที่ใบหน้าแล้วเตะตามที่ก้านคอล้มลงนอนนิ่ง ผู้ตัดสินนับ 10 ก็ไม่สามารถลุกข้ามาต่อสู้ได้
• สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2468 - 2477)
      ระหว่างปี พ.ศ.2466 - 2472 พลโทพระยาเทพหัสดินได้สร้าง สนามมวยหลักเมืองท่าช้าง ขึ้น บริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน เวทีมีเชือกกั้นเส้นใหญ่ขึ้น เชือกแต่ละเส้นขึงตึงเป็นเส้นเดียวไม่เปิดช่องตรงมุมสำหรับขึ้นลงเหมือนกับยุคเก่า เพื่อป้องกันนักมวยตกเวทีตรงช่องนี้และจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี
      ปี พ.ศ.2472 รัฐบาลมีคำสั่งให้การแข่งขันชกมวยไทยทั่วประเทศสวมนวมชกได้ ตังอย่างการสวมนวมจากนักมวยฟิลิปปินส์ที่เข้ามาชกมวยสากลในประเทศไทย ทั้งนี้สาเหตุเนื่องจาก นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากบ้านท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ต่อย นายเจีย แขกเขมร ตายด้วยหมัดคาดเชือก
...ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2472 เจ้าคุณคธาธรบดี ได้เริ่มจัดการแข่งขันชกมวยไทยขึ้นที่สวนสนุกภายในบริเวณสวนลุมพินีร่วมกับมหรศพอื่นๆ โดยคัดเอานักมวยฝีมือดีชกกันทุกวันเสาร์เนื่องจากเจ้าคุณเป็นคนทันสมัยจึงเวทีมวยแบบมาตรฐานสากล คือ มีเชือก 3 เส้น ใช้ผ้าใบปูพื้น มีมุมแดง น้ำเงิน มีผู้ตัดสินให้คะแนน 2 คน มีผู้ชี้ขาดการแข่งขันบนเวที 1 คน ให้สัญญาณด้วยระฆังเป็นครั้งแรก และในวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2472 ในรายการต้อนรับวันปีใหม่ คู่เอกระหว่างสมาน ดิลกวิลาศ กับ เดช ภู่ภิญโญ มวยประกอบรายการได้แก่ นายแอ ม่วงดี กับสุวรรณ นิวาสะวัตร ซึ่งนายแอ ม่วงดี ได้นำเอากระจับเหล็กมาใช้ป้องกันอวัยวะสำคัญทำให้นักมวยคนอื่นๆ หันมาใช้กระจับเหล็กตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ข้อมูลเพิ่มเติมหรืออ่านเพิ่มได้ที่>>>http://student.nu.ac.th/muaythaiboran/prawatmuay05.htm




0 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ความเห็นล่าสุด

Your left Slidebar content. -->